ข่าวโลกสีเขียว

ดำรงค์ จี้นายก จัดการขบวนการล่าช้างป่า ออกตั๋วรูปพรรณ

11 มี.ค. 2556

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม นายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในฐานะหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย กล่าวถึงกรณีช้างแม่ลูกอ่อนถูกฆ่าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ว่า การฆ่าช้างดังกล่าวชัดเจนว่าเป็นการฆ่าแม่เพื่อเอาลูกช้าง เพื่อเอาไปขายถือว่าเหี้ยมโหดอำมหิตมาก ที่สำคัญ
...

ไซเตสปรับสถานะเต่าและตะพาบหลายชนิด

11 มี.ค. 2556

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ครั้งที่ 16 นายวิมล จันทรโรชัย อธิบดีกรมประมง แถลงผลการยื่นข้อเสนอปรับบัญชีเต่าและตะพาบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเสนอเต่าคองู ที่บรรจุไว้ใน
...

ไซเตสโหวต ฉลามหัวค้อน กระเบนราหู ได้เข้าบัญชีที่ 2

11 มี.ค. 2556

วันที่ 11 มีนาคม ด.ญ.ณณิชา เศรษฐพรพงศ์ อายุ 12 ปี และ ด.ช.ภวินท์ เสธฐภักดี อายุ 10 ปี ตัวแทนนักอนุรักษ์รุ่นใหม่และทูตเยาวชนโครงการ Fin Free Thailand ได้เดินทางมาที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมีการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์(ไซเตส) เพื่อยื่นหนังสือถึง นายวิมล จันทโรทัย อธิบดีกรมประมง เพื่อขอให้ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอ
...

จระเข้ไทยอดส่งออก แพ้โหวตไซเตส อยู่บัญชี 1 ต่อไป

11 มี.ค. 2556

จระเข้ไทยไปไม่ถึงฝั่งฝัน ยุโรป-อเมริกา ออกโรงค้านหัวชนฝา รองอธิบดีอุทยานฯระบุ เรื่องของผลประโยชน์ทางการค้าทุกประเทศต้องปกป้องตัวเอง ยันไทยดูแลจระเข้ในธรรมชาติดีที่สุดแล้ว วันที่ 7 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์
...

ไม้กฤษณาไทยผ่านไซเตสฉลุย พร้อมส่งออก หมีขาวขั้วโลกเศร้า แพ้โหวต ยังล่ากันได้

8 มี.ค. 2556

การประชุมภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 5 เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ มีเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยอีกเรื่อง ว่าด้วยเรื่องที่กรมวิชาการเกษตรประเทศไทย ร่วมกับ ประเทศคูเวตและจีน เสนอให้มีการเปลี่ยนคำนิยามเรื่องการ
...

ห้วยขาแข้งอุดมสมบูรณ์สุดขีด เสือล้นไปป่าข้างเคียง

27 ธ.ค. 2555

ห้วยขาแข้งอุดมสมบูรณ์สุดขีด เสือล้นป่าคาดมีมากถึง 90 ตัว ต้องไปอาศัยป่าข้างๆ ผู้เชี่ยวชาญเสือเป็นปลื้มปี 55 พบเสือโคร่งป่าแม่วงก์ 10 ตัว ป่าคลองลาน 4 ตัว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเจอมาก่อน คาดออกจากห้วยขาแข้ง
...

เขาใหญ่เอาจริง จับปรับแก๊งค์ซิ่งและจัดระเบียบนักวิจัย

15 ก.พ. 2555

“อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” เฉียบ ห้ามนักบิดซิ่งส่งเสียงดังบนเขาใหญ่ เจอจับปรับส่งดำเนินคดี พร้อมจัดระเบียบนักวิจัยจะเข้าป่าต้องขออนุญาต หวังแก้ปัญหาตัดไม้หอม-ยาเสพย์ติด-อาชญากรรม แฉคณะนักวิจัยผูกขาดบ้านพักปิดทางนักวิจัย
...

กรมอุทยานเตรียมสำรวจดีเอ็นเอจากขี้ช้าง

14 ก.พ. 2555

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้าง มาทำความเข้าใจแนวทางการศึกษาดีเอ็นเอช้างบ้านและช้างป่า โดยเร็ว ๆ นี้กรมอุทยาน
...

ระวังจระเข้ ของแถมจากน้ำท่วม

สัตวแพทย์เตือนกลางคืนอย่าเดินเข้าพงหญ้า กองไม้น้ำท่วม เสี่ยงไอ้เข้จู่โจม

10 ต.ค. 2554

วันที่ 10 ตุลาคม ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ เป็นประธานการประชุมความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานฯ กับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ 6 สถาบันและชมรม สัตวแพทย์สัตว์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่
...

กรมอุทยานฯ คุมเข้มจตุจักร สกัดซื้อ-ขายพืชสัตว์ผิดกฎหมาย

กรมอุทยานแห่งชาติเอาจริงจัดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนตลาดนัดจตุจักร เตือนคนซื้อด้วยเห็นจับ-ปรับทันทีโทษคุก 3 เดือนปรับ 3 หมื่น

2 ต.ค. 2554

วันที่ 3 ตุลาคม นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า สำหรับนโบายการปราบปรามการค้าสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของต้นทางนอกจากจะให้เจ้าหน้าที่กวดขันเรื่องการ
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai