ข่าวโลกสีเขียว

ความคืบหน้า กระทิงกุยบุรี หลังพบตาย 22 ตัว

17 ม.ค. 2557

สถาบันสุขภาพสัตว์แถลงเจอไนเตรท ในกระทิงกุยบุรี 17 ตัว พบในหญ้า ไมยราบ ข้าวฟ่าง ดินโป่ง แถมพบเชื้อคลอสซิเดียม โนมิอาย ที่เข้าทางตับและกระแสเลือดในซากกระทิง 9 ใน 17 ตัว อีกทั้งพบ
...

ความคืบหน้า กระทิงกุยบุรี ตัวที่ 20

15 ม.ค. 2557

กรณีที่ นายสัตวแพทย์ (น.สพ.) ทฤษฎี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ออกมาระบุถึงผลการตรวจเนื้อเยื่อของกระทิงที่ตาย 18 ตัว ในพื้นที่ โครงการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากกระราชดำริ หรือโครงการกุญชร และสิ่งแวดล้อม
...

ความคืบหน้า กระทิงกุยบุรี "ไม่ใช่โรคระบาด"

13 ม.ค. 2557

วันที่ 13 มกราคม นายสัตวแพทย์(น.สพ.)ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่เจอซากกระทิงตายในพื้นที่ โครงการฟื้น
...

กระทิงกุยบุรี วุ่นไม่เลิก ตายเพิ่มอีกตัว

10 ม.ค. 2557

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นายศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวถึงการพบซากกระทิงป่ากุยบุรี 18 ตัวในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีว่า ขณะนี้กลุ่มชาวบ้านอำเภอกุยบุรีได้ร่วมกันบริจาคเงิน 1 แสนบาท เพื่อตั้งรางวัลให้
...

ความคืบหน้า กระทิงกุยบุรี

8 ม.ค. 2557

วันที่ 6 มกราคม นายสมัคร ดอนนาปี ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบบุคคลกรณีกระทิงตาย ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้มีการลงพื้นที่ และรวบรวม
...

พบกระทิงกุยบุรีตายลึกลับ 18 ตัว

29 ธ.ค. 2556

ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีข่าวน่าเศร้าในแวดวงอนุรักษ์ในประเทศไทยข่าวหนึ่ง นั่นคือ การที่มีกระทิงตายอย่างลึกลับเป็นจำนวนมากในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี การตายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่าโดยที่ยังหาต้นสายปลายเหตุไม่ได้
...

เดิน 388 กม. ถึงกทม. ยื่นต้านเขื่อน "แม่วงก์"

23 ก.ย. 2556

การเดินเท้าเพื่อคัดค้านรายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็น 1 ในโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยกลุ่มของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่นำโดย นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิ และเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และกลุ่มรักษ์ป่า
...

อธิบดีกรมป่าไม้ลาวส่งจนท.ติดตามช้างชายแดนไทย

14 มี.ค. 2556

วันที่ 14 มีนาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวถึงกรณีของช้าง 3 ตัวที่เดินมาจากประเทศลาว เข้ามายัง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม และมีชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่าช้างตัวดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ
...

ประชุมไซเตสวันสุดท้าย กับการบ้านหนักที่ยังเหลือของประเทศสมาชิก

14 มี.ค. 2556

วันที่ 14 มีนาคม ในการประชุมประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์(ไซเตส) วันสุดท้าย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ประเทศ
...

แอฟริกาได้โควตาล่าเสือดาว 2,648 ตัว ไม้พะยูงฉลุย เข้าบัญชีที่ 2 ตามคาด

12 มี.ค. 2556

วันที่ 12 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (ไซเตส) ที่ประชุมมีการพิจารณา ข้อเสนอของประเทศบอตสวานา แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา เรื่อง การกำหนดโควตา การล่าและส่งออกเสือดาวของประเทศ
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai