ไม้กฤษณาไทยผ่านไซเตสฉลุย พร้อมส่งออก หมีขาวขั้วโลกเศร้า แพ้โหวต ยังล่ากันได้

ไม้กฤษณาไทยผ่านไซเตสฉลุย พร้อมส่งออก หมีขาวขั้วโลกเศร้า แพ้โหวต ยังล่ากันได้

8 มี.ค. 2556

การประชุมภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ มีเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยอีกเรื่อง ว่าด้วยเรื่องที่กรมวิชาการเกษตรประเทศไทย ร่วมกับ ประเทศคูเวตและจีน เสนอให้มีการเปลี่ยนคำนิยามเรื่องการขยายพันธุ์เทียมของไม้กฤษณา จากข้อกำหนดเดิมของไซเตสที่กำหนดเอาไว้ว่า ไม้กฤษณาซึ่งอยู่ในสถานะที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ยังมีการซื้อขายระหว่างประเทศได้ภายใต้ข้อกำหนดที่ไซเตสกำหนดเอาไว้คือ ไม้เหล่านั้นจะต้องมีที่มาจากการขยายพันธุ์เทียม ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการเปลี่ยนคำนิยาม โดยรวมการปลูกไม้กฤษณาที่ปลูกรวมกับพืชอื่นๆเป็นการขยายพันธุ์เทียมด้วย


นางมัณฑนา มิลน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นิยามของคำว่าขยายพันธุ์เทียมของไม้กฤษณา คือ การปลูกในแปลงขนาดใหญ่ แต่การปลูกไม้กฤษณาที่ประเทศไทยทำอยู่เวลานี้คือ จะปลูกแซมกับพืชชนิดอื่น เพราะถ้าปลูกแบบเดี่ยวๆจะมีปัญหาคือช่วงที่ยังเป็นต้นอ่อนหากโดนลมจะทำให้ลำต้นคดไม่ตรง และการปลูกรวมกับไม้ ชนิดอื่น เช่น ต้นกล้วย นางพารา หรือกาแฟ จะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพมากกว่าการปลูกเดี่ยว ๆ ด้วย

“ปัญหาที่เราเจอภายใต้ข้อจำกัดของนิยามที่ว่า ไม้หอมกฤษณาจะต้องมาจากการขยายพันธุ์เทียมเท่านั้น เราสามารถส่งออกจากประเทศเราได้ แต่เมื่อถึงประเทศปลายทาง จะมีการตรวจสอบกันนานมากว่า ไม้ของเรามาจากการขยายพันธุ์เทียมจริงหรือไม่ แม้ส่วนใหญ่จะพิสูจน์ได้ แต่ก็เสียเวลาในการตรวจสอบมากทั้งนี้ประเทศไทยส่งออกไม้กฤษณาไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางประมาณปีละ 42 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการลักลอบเข้าไปตัดไม้กฤษณากันมาก โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว การที่ไซเตสเปลี่ยนนิยามของไม้กฤษณาครั้งนี้ เท่ากับเป็นการส่งเสริมการส่งออกให้เกษตรกรผู้ปลูกได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งผลในทางอ้อมคือ จะทำให้การลักลอบตัดไม้กฤษณาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลดน้อยลงด้วย

ไฮไลท์ประจำวันที่หลายคนตั้งตารอคือ ข้อเสนอของสหรัฐอเมริกา ให้ปรับเอาหมีขาวหรือหรือขั้วโลก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบัญชีที่ ขึ้นไปอยู่ในบัญชีที่ ด้วยเหตุผลที่ว่า อยู่ในสถานะที่ใกล้สูญพันธุ์ จากการล่าที่ผิดกฎหมาย และผลมาจากที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป เพราะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว ถูกคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยเฉพาะ ประเทศแคนาดา ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีตัวแทนจากชนเผ่าอินูอิต ซึ่งอาศัยอยู่ในขั้วโลกเหนือแถบมหาสมุทอาร์กติก เดินทางมาเรียกร้องขอใช้ประโยชน์จากหมีขาวอย่างจริงจังด้วย
ในที่ประชุมเรื่องนี้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเรื่องการผลักดันให้หมีขาวขึ้นไปอยู่ในบัญชีการคุ้มครองที่ โดยตัวแทนจากสหรัฐ ระบุว่า เวลานี้ปริมาณหมีขาวลดลงทั้งจากการล่า และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จนหมีหลายร้อยตัวเริ่มเจ็บป่วยและอยู่ไม่ได้ จะต้องสงวนสัตว์ชนิดนี้เอาไว้ให้ปลอดจากการค้าและการถูกฆ่าให้เร็วที่สุด ขณะที่ตัวแทนจากเผ่าอินูอิต ประเทศแคนาดา บอกว่า ต้องมองลึกในรายละเอียด เพราะที่ผ่านมาชาวอินูอิตรู้จักหมีขาวดีกว่าใคร ๆ ในโลก การล่าและฆ่าหมี ทำเพื่อประทังชีวิต เพื่อซื้ออาหารและของใช้จำเป็นเข้าบ้าน พวกเขารู้วิธีฆ่าและวิธีอนุรักษ์เพื่อให้หมีอยู่อย่างยั่งยืน
ผลการโหวตปรากฏว่า มีประเทศที่เห็นด้วยกับสหรัฐอเมริกาในการเลื่อนหมีขาวขั้วโลกไปอยู่บัญชีที่หนึ่ง มี 38 ประเทศ ไม่เห็นด้วย 42 ประเทศ งดออกเสียง 46 ประเทศ ในจำนวนนี้มีประเทศไทยด้วย หมายความว่า หมีขาวขั้วโลกยังคงมีสถานะอยู่ในบัญชีที่ ต่อไป
เวทีไซเตส เป็นเรื่องของการเจรจา ต่อรอง ผลประโยชน์ บางเรื่องอาจจะค้านกับความรู้สึกของเราก็ได้

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai