ข่าวโลกสีเขียว

เตือนอย่าตื่นทองในใบยูคาฯ

21 ส.ค. 2557

องค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฯออสเตรเลีย พบทองคำในใบยูคาลิปตัส อ้าง 500 ใบสกัดทำแหวนทองคำได้ 1 วง สภาเกษตรกรแห่งชาติ-กรมอุทยานฯ รีบเบรก หวั่นเกษตรกรไทยแห่ปลูก ชี้เป็นแค่งานวิจัยเบื้องต้น และต้องปลูกในแหล่งที่มีทองรากถึงจะดูดขึ้นมาได้
...

ตะลึง เสือโคร่งเดินไกลข้ามถนนลาดยางจากห้วยขาแข้งถึงสลักพระ

28 ก.ค. 2557

วันที่ 27 กรกฎาคม นายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือโคร่ง หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ให้สัมภาษณ์ว่า
...

เตรียมจับจระเข้เขาใหญ่

13 พ.ค. 2557

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เตรียมเตรียมจับจระเข้เขาใหญ่พิสูจน์พันธุ์ ชี้หากเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ต้องย้ายทันที สัตวแพทย์เผยตัวใหญ่อันตราย อาณาจักรหากินกว้างขึ้น เกรงนักท่องเที่ยวแหย่ ประสานฟาร์มสมุทรปราการเข้าช่วย
...

ยกย่องนกเงือก เทพเจ้าแห่งรัก

13 พ.ค. 2557

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ป่าแหล่งสำคัญที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ จากการนับและเฝ้าศึกษาในพฤติกรรมของนกเงือกในพื้นที่นี้พบว่า มีมากกว่า 1 พันตัว ถือว่าค่อนข้างจะสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
...

กุยบุรีไม่จบ ตายทั้งช้างทั้งกระทิง

13 พ.ค. 2557

วันที่ 12 พ.ค. 57 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีพบซากช้างป่าเพศผู้ล้ม ในพื้นที่ติดต่อกับ อช.กุยบุรี คาดว่าตายมาประมาณ 3 วัน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว พบยาฆ่าแมลงใกล้ซากช้างป่า
...

กรมอุทยานปล่อยพญาแร้งสู่ธรรมชาติ

11 พ.ค. 2557

วันที่ 11 พฤษภาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.น.สพ. ไชยยันต์ เกสรดอกบัว
...

กระทิงกุยบุรี ตัวที่ 26

3 พ.ค. 2557

วันที่ 3 พฤษภาคม นายดำรงค์ พิเดช ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ให้สัมภาษณ์ เรื่องที่พบซากกระทิงตัวที่ 26 ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า ในความห็นส่วนตัวแล้ว ตั้งแต่เกิดเหตุกระทิงตายที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตั้งแต่ตัวแรก
...

กระทิงกุยบุรีถึงบทสรุป ตายจาก 3 เหตุ

กรมอุทยานแห่งชาติชี้ชัด กระทิงกุยบุรีตายจาก 3 สาเหตุ โรคดำ ปากเท้าเปื่อย และไวรัส ปิดอุทยานฯ ต่อ เพื่อกักโรค

13 มี.ค. 2557

วันที่ 11 มีนาคม นายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รักษาการอธิบดีกรมอุทยานฯ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีฯ นสพ.ปรีชา วงศ์วิจารณ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ นสพ.เบญจรงค์ สังขรักษ์ จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และ นสพ.วิทวัช วิริยะรัตน์ รองคณบดี
...

บทสรุปกระทิงกุยบุรี ไม่ได้ตายเพราะสารพิษ

2 ก.พ. 2557

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 31 มกราคม ที่ศูนย์ปฏิบัติการป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายนิพนธ์ โชติบาล รักษาการแทนอธิบดีกรมอุทยานฯ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานฯ ส.พญ.ตวงทอง ปัจฉิมศิริ หัวหน้า
...

ความคืบหน้า กระทิงกุยบุรี พบสารพิษในซาก ยอดตายเพิ่มเป็น 23

20 ม.ค. 2557

วันที่ 18 มกราคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า จากการที่ให้ทีมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เดินสแกนหาซากกระทิงในพื้นที่ข้างเคียงที่ไม่เคยเดินหามาก่อน ปรากฏว่าได้พบซากกระทิงเพิ่มอีก 1 ซากบริเวณทุ่งหญ้าห่าง
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai