ระวังจระเข้ ของแถมจากน้ำท่วม

ระวังจระเข้ ของแถมจากน้ำท่วม

สัตวแพทย์เตือนกลางคืนอย่าเดินเข้าพงหญ้า กองไม้น้ำท่วม เสี่ยงไอ้เข้จู่โจม

10 ต.ค. 2554

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 10 ตุลาคม ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ เป็นประธานการประชุมความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานฯ กับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ สถาบันและชมรม สัตวแพทย์สัตว์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุสัตว์ป่าพลัดหลงจากอุทกภัย
นายธีรภัทร กล่าวว่า กรมอุทยานฯ มีหน่วยปฏิบัติการด้านสัตว์ป่าเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุสัตว์ป่าพลัดหลงจากอุทกภัยในแหล่งชุมชน (นปสอ.)  จำนวน หน่วย ครอบคลุม 20 จังหวัด ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการบึงบอระเพ็ด จ. นครสวรรค์ หน่วยฯ บึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี หน่วยฯ ป่าสักชลสิทธิ์ จ.สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง  หน่วยฯ วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี  นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา หน่วยฯ พันท้ายนรสิงห์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม หน่วยฯ นครนายก  จ.นครนายก ปราจีนบุรี และหน่วยฯ บางละมุง ชลบุรี ระยอง หน่วยฯ บางเขน กทม.  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการแจ้งผ่านสายด่วน 1362  ของกรมอุทยานฯ และได้ให้หน่วยฯ ต่างๆ นี้ ลงไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่พบเจอสัตว์ป่าหนีน้ำขึ้นมา  รวม 43 กรณี ส่วนมากเป็นงู  ลิง เหี้ย และจระเข้
นายธีรภัทร กล่าวว่า นอกจากนี้เมื่อวันที่ ตุลาคมที่ผ่านมา ทางหน่วยฯ ได้ไปช่วยลำเลียงเสือเลี้ยง จำนวน ตัว  จาก ตัว ซึ่งจมน้ำตายไป ตัว เพราะเจ้าของช่วยเหลือไม่ทัน  ที่ฟาร์มจระเข้อุทัย จ.อุทัยธานี โดยนำไปไว้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาประทับช้าง จ. ราชบุรี   ทั้งนี้สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังหลังจากนั้นคือโรคระบาดอุบัติใหม่ที่อาจจะเกิดจากซาก สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมด้วย    
สัตวแพทย์หญิง(ส.พญ.) นันทริกา ชันซื่อ  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาที่หนักสุดขณะนี้คือปัญหาจระเข้หลุด มีบ่อจระเข้พังทะลาย เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องช่วย ตนทราบว่ามีฟาร์มหลายแห่งตัดสินใจช็อตจระเข้  โดยใช้กระแสไฟ 220โวลต์ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่เป็นเรื่องน่ากลัวและเสี่ยงอันตรายทั้งต่อคนและจระเข้  และยังมีฟาร์มหลายแห่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนยังไม่รู้จะติดสินใจดำเนินการอย่างไร   ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมให้ประชาชนด้วย  
“อย่างไรก็ตามในกรณีพบเจอจระเข้หลุดออกมา ขอให้ประชาชนอย่าตกใจ เพราะจระเข้กลัวคนอยู่แล้ว เพียงแค่ใช้ไม้ตีน้ำจระเข้ก็จะตกใจและว่ายน้ำหนี ดังนั้นหากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และกลัวสัตว์เหล่านี้ หากต้องเดินลุยน้ำก็ขอให้นำไม้ยาวๆ ติดมือไปด้วย เพื่อใช้ตีน้ำสัตว์จะตกใจและว่ายหนีไปเอง” สพ.ญ.นันทริกากล่าว  
นายสัตวแพทย์(น.สพ.)มาโนชญ์ ยินดี ผู้ช่วยคณะบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตอนนี้ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง ว่าจระเข้หลุดออกมานอกฟาร์ม เพราะเหตุการณ์น้ำท่วม จำนวนเท่าไร รู้กันแต่ว่ามีหลุดออกมาแน่ๆ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะคาดว่าจระเข้ที่หลุดออกมานั้นส่วนใหญ่เป็นจระเข้ขนาดเล็ก ยาวไม่เกิน เมตร เพราะจระเข้ขนาดใหญ่ไม่สามารถหลุดออกมาจากฟาร์มได้
เมื่อถามว่า โดยพฤติกรรมของจระเข้แล้ว หากหลุดออกมาจากฟาร์ม มันจะอยู่อย่างไร และประชาชนควรจะระมัดระวังตัวเองอย่างไรบ้าง น.สพ.มาโนชญ์ กล่าวว่า จระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อยู่ได้ทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น แต่ส่วนใหญ่มักจะลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำเห็นจมูกโผล่ขึ้นมา เรียกว่า “ก้อนขี้หมา” อย่างไรก็ตามจระเข้ที่อยู่ในฟาร์มไม่มีนิสัยล่าเหยื่อโดยตรง เมื่อเจอคนก็จะพยายามหนี
“หากพวกมันหลุดออกมาจากฟาร์ม มันมักจะว่ายน้ำไปอยู่ตามพงหญ้า หรือกองไม้ หรือบ้านที่พังเพราะถูกกระแสน้ำพัด หากเราเจอจระเข้ช่วงกลางวันไม่ค่อยจะมีปัญหา เพราะถ้ามันเห็นคนก็จะพยายามหนี ที่น่าห่วงคือช่วงเวลากลางคืน เพราะโดยสัญชาตญาณจระเข้ จะออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืน หากใครรู้เท่าไม่ถึงการลุยน้ำเข้าไปใกล้พงหญ้า หรือกองไม้อาจจะถูกโจมตีได้ เพราะมันคิดว่าเป็นเหยื่อ จึงขอเตือนประชาชนว่า ตอนกลางคืน ไม่ควรเดินลุยน้ำเข้าไปในบริเวณดังกล่าว” น.สพ.มาโนชญ์ กล่าว
น.สพ.มาโนชญ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ และสอบถามจากเจ้าของฟาร์มจระเข้ ใน จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานีนั้น หลายฟาร์มยอมรับว่า ไม่สามารถหาทางสกัดไม่ให้จระเข้หลุดออกจากฟาร์มไปได้ จึงใช้วิธีเอาไฟฟ้าช๊อตให้จระเข้ตาย แล้วเก็บเอาไว้ เพราะไหนๆจระเข้เหล่านี้ก็ต้องตายอยู่แล้ว และหากปล่อยให้หลุดออกมาประชาชนก็จะหวาดกลัว จึงยอมเสียราคาโดยการฆ่าจระเข้ก่อนเวลาอันสมควร
ด้านตัวแทนจากกรมประมง กล่าวว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมาได้รับรายงานว่า จ.อุทัยธานี มีจระเข้หลุดออกมาจากฟาร์มซึ่งในฟาร์มมีจระเข้ประมาณ 100 ตัว อย่างไรก็ตามไม่ได้หลุดออกมาทั้งหมด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมประมงได้ส่งเรือและทีมเจ้าหน้าที่เข้าไปตามจับแล้ว ซึ่งขอให้ประชาชนอย่าได้รู้สึกกังวล เพราะเจ้าหน้าที่กำลังเร่งทำงานอย่างเต็มที่ และจระเข้เหล่านี้เป็นจระเข้เลี้ยงไม่ค่อยดุร้ายและกลัวคน อย่างไรก็ตามขณะนี้มีการเพาะเลี้ยงจระเข้ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงไว้ราย ใหญ่ 20-30 ราย และมีรายย่อยอีก 900 ราย มีจระเข้ทั้งหมดราว แสนตัว โดยประเทศไทยเป็นผู้เพาะเลี้ยงอันดับหนึ่งของโลก โดยตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วมมาทราบว่ามีหลายแห่งที่ตัดสินใจใช้ไฟช็อตจระเข้ เพราะเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยและเกรงจระเข้จะหลุดออกมาทำร้ายประชาชน ที่สำคัญหนังจระเข้ถือว่ามีราคามากขนาด เมตร ราคาถึง 3,000-4,000 บาท 
น.สพ. ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์สัตว์ป่าประจำกรมอุทยานฯ กล่าวว่า สิ่งที่ทีมเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานเวลานี้ คือเจ็ตสกีหรือเรือเร็ว เพื่อให้สามารถนำทีมงานเข้าไปในพื้นที่ที่ประชาชนร้องขอความช่วยเหลือมา  เพราะในกรณีพบเห็นจระเข้ หรืองู  เมื่อประชาชนโทรมาที่สายด่วนของกรมแล้ว แต่ปัญหาของเราคือการเข้าไปในพื้นที่อย่างยากลำบาก เมื่อเข้าไปถึง สัตว์เหล่านั้นก็หายตัวไปแล้ว 
Powered by Wimut Wasalai