เสือโคร่ง
Tiger
Panthera tigris
เมื่อเอ่ยคำว่า "เสือ" ขึ้นมาเพียงคำเดียว ทุกคนคงจะนึกถึงเสือโคร่งเป็นอันดับแรก เพราะเสือโคร่งเป็นเสือที่ผู้คนรู้จักกันมากที่สุด มีลายพาดกลอนไม่เหมือนเสือชนิดอื่น รูปร่างสง่างาม ใหญ่โตกำยำ จึงเป็นตัวแทนของเสือทั้งมวล ในทวีปเอเชียเสือโคร่งได้รับการยกย่องให้เป็นจ้าวป่า เช่นเดียวกับที่สิงโตที่ครองตำแหน่งเป็นจ้าวแห่งท้องทุ่งในทวีปแอฟริกา
มีเรื่องเล่าและตำนานมากมายเกี่ยวกับเสือโคร่งมันมักถูกเล่าขานในด้านความน่าสะพรึงกลัว น่าเกรงขาม หรือน่าเกลียดชังในฐานะ "สัตว์กินคน" รวมถึงความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับอำนาจลึกลับที่อยู่ในตัวเสือโคร่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างเสือโคร่งกับมนุษย์
อย่างไรก็ตามเราเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสือโคร่ง ทั้งด้านชีววิทยา การกินอยู่และอุปนิสัยของเสือโคร่งหลังจากมีการสำรวจอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เท่านั้น ข้อเท็จจริงหนึ่งที่เราได้พบคือ จ้าวป่าชนิดนี้กำลังใกล้สูญพันธุ์ เพียงช่วงศตวรรษที่ผ่านมามีเสือโคร่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 3 พันธุ์จากจำนวน 9 พันธุ์ และเสือโคร่งที่เหลืออยู่ก็ลดจำนวนลง ทัศนคติที่ดีและความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างถูกทาง พวกเราทุกคนจึงควรทำความรู้จักกับเสือโคร่งให้ดียิ่งขึ้น ก่อนที่จะไม่มีเสือโคร่งเหลือให้รู้จัก
เสือโคร่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเสือไซบีเรียซึ่งเป็นเสือโคร่งพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักตัวถึงเกือบ 500 กก. ลำตัวมีสีเหลืองแดงหรือสีขมิ้น มีแถบสีดำหรือน้ำตาลพาดตามลำตัวตลอดในแนวตั้ง บริเวณหน้าอก ส่วนท้องและด้านในของขาทั้งสี่มีสีขาวครีม บางตัวอาจมีสีออกเหลือง มีกระบอกปากค่อนข้างยาว เสือโคร่งตัวผู้มีลักษณะเด่นที่ขนที่หลังแก้มทั้งสองด้านซึ่งจะยาวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในเสือโคร่งพันธุ์สุมาตรา บริเวณจมูกมีสีชมพู ในบางตัวอาจมีสีดำปะปนเป็นแต้ม ๆ ม่านตาสีเหลือง รูม่านตากลม หูสั้นและกลม หลังหูมีสีดำและมีแต้มสีขาวเด่นชัดอยู่กลางใบหู ขาหน้าของเสือโคร่งจะบึกบึนและแข็งแรงกว่าขาหลัง ฝ่าตีนกว้าง หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ปลายหางเรียว ลายดำที่หางมีลักษณะทั้งริ้วและปล้องปนกัน ปลายหางมักจะเป็นสีดำ เสือโคร่งใช้หางช่วยรักษาสมดุลของร่างกายขณะหันตัวอย่างฉับพลัน นอกจากนี้ยังใช้ในการสื่อสารกับเสือตัวอื่นด้วย
ตีนหน้าของเสือโคร่งจะมีนิ้วอยู่ข้างละ5 นิ้ว ส่วนตีนหลังมีข้างละ 4 นิ้ว เล็บสามารถหดเก็บไว้ในอุ้งได้ ทำให้สามารถเดินได้อย่างเงียบกริบ รอยตีนของเสือโคร่งจึงไม่ปรากฏรอยเล็บ
ลายพาดกลอนของเสือโคร่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันมากและไม่ซ้ำกันเลยแม้แต่ตัวเดียว แม้แต่ลายทั้งสองข้างของลำตัวและลวดลายด้านข้างของใบหน้าของเสือแต่ละตัวก็มีลายไม่เหมือนกัน จุดสังเกตของแถบบนตัวเสือโคร่งคือ จำนวนแถบ ความกว้างของแถบ และการขาดของแถบกลายเป็นจุด อย่างไรก็ตาม เส้นสีดำเหนือลูกตาทั้งสองข้างค่อนข้างจะสมมาตรกัน เสือโคร่งพันธุ์สุมาตรามีริ้วลายมากที่สุด ส่วนเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียมีลายน้อยที่สุด
ขนาดและน้ำหนักของเสือโคร่งแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันมากเสือไซบีเรียตัวผู้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุด มีความยาวลำตัวเกิน 10 ฟุต และหนักกว่า 300 กิโลกรัม ในขณะที่เสือโคร่งพันธุ์สุมาตราตัวเมียมีความยาวลำตัวสั้นกว่าถึง 3 ฟุต และมีน้ำหนักน้อยเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น
เสือที่อยู่ในเขตหนาวเช่นเสือไซบีเรีย และเสือแคสเปียนในในเตอร์กิสถานและคอเคซัส มีขนในฤดูหนาวและในฤดูร้อนแตกต่างกันมาก ในฤดูหนาว ขนของมันจะยาวและแน่นมากจนดูทับกันเป็นปึก ในขณะที่สีสันก็จะจางซีดกว่าขนในฤดูร้อนด้วย
เสือโคร่งดำ
เสือโคร่งดำเป็นเสือโคร่งที่มีสีดำ เป็นที่กล่าวถึงมาเป็นเวลาช้านาน แต่ยังเป็นที่ยืนยันแน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เพราะขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามยังมีรายงานพบเห็นตัวอยู่นาน ๆ ครั้ง หลักฐานหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการพบหนังเสือโคร่งดำในขณะที่มีการจับกุมการค้าหนังสัตว์เถื่อนที่เดลฮีในปี 2535 หนังผืนนั้นมีสีดำสนิทที่บริเวณกระหม่อมและกลางหลัง และค่อย ๆ จางลงไล่ลงมาตามข้างลำตัวจนถึงสุดแถบ หนังผืนนั้นไม่ได้เกิดจากความปกติของเม็ดสีแบบเมลานิซึมอย่างที่พบในเสือดำหรือจากัวร์ดำหรือเสือชนิดอื่น ๆ ซึ่งดำปลอดทั้งตัว แต่เชื่อว่าเป็นลักษณะของยีนอากูตี ซึ่งทำให้แถบดำเชื่อมต่อกัน ตัวอย่างของเสือที่มีลักษณะแบบนี้เคยมีผู้ถ่ายภาพได้ในอุทยานแห่งชาติกันนาของอินเดีย
เสือโคร่งขาวหรือเสือเบงกอลขาว มีรูปร่างเหมือนเสือโคร่งปรกติ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า เป็นเสือโคร่งที่คุ้นตาผู้คนมาก สามารถพบได้ในสวนสัตว์เกือบทุกแห่งรวมทั้งสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ในเมืองไทย แต่อย่างไรก็ตามเสือโคร่งขาวได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของอินเดียแล้ว ตัวสุดท้ายที่มีผู้พบเห็นเป็นลูกเสือตัวผู้ที่ถูกจับได้มาจากรีวา ในตอนกลางของอินเดียโดยมหาราชาแห่งรีวาในปี พ.ศ. 2494 มีชื่อว่า โมฮัน เสือโคร่งขาวเกือบทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์และแหล่งเพาะเลี้ยงต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบันล้วนแต่เป็นลูกหลานของโมฮันทั้งสิ้น
เสือโคร่งขาวไม่ใช่เสือโคร่งเผือกแท้แต่เป็นอาการผิดปรกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย เสือโคร่งขาวลำตัวมีพื้นสีขาวปลอดและมีลายพาดกลอนเป็นสีน้ำตาลและมีตาสีฟ้า
9 ชนิดย่อย มีเขตกระจายพันธุ์ ขนาด และน้ำหนักต่างกันไปดังนี้
เนื่องจากยังมีป่าไม้และทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ อันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่ง อาณาเขตของมันพบได้ไกลถึงชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งแสดงถึงอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าในปัจจุบันมาก ด้วยอุปนิสัยของเสือโคร่งที่เป็นสัตว์ขี้ร้อน ชอบอยู่กับน้ำและอาศัยอยู่ในป่าลึกที่เย็นชื้นในเวลากลางวัน ก็อาจทำให้สันนิษฐานได้ว่าเสือโคร่งมีต้นกำเนิดมาจากแดนที่หนาวเย็น
จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์โดยเฮมเมอร์ในปี 2530 และ มาซัค ในปี 2526 สันนิษฐานว่าเสือโคร่งมีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันออก และเริ่มกระจายพันธุ์ออกไปเป็นสองเส้นทางหลัก ๆ เมื่อราวสองล้านปีก่อน ทางตะวันตกเฉียงเหนือเสือโคร่งค่อย ๆ ย้ายถิ่นไปตามลำน้ำและป่าไม้ลงมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เสือโคร่งแพร่พันธุ์ผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางส่วนไปหมู่เกาะอินโดนีเซีย และบางส่วนไปถึงอินเดีย แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าเสือโคร่งพันธุ์จีนใต้เป็นลูกหลานโดยตรงมาจากบรรพบุรุษเสือโคร่ง ซึ่งเคยอยู่ในพื้นที่เดียวกันมาก่อน เสือโคร่งพันธุ์จีนใต้มีลักษณะของกะโหลกที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด เช่นกะโหลกที่สั้น และเบ้าตาที่ชิดกันและชี้ตรงไปข้างหน้ามากกว่าพันธุ์อื่น
เสือโคร่งอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่หลายประเภทตั้งแต่ป่าดงดิบในเขตศูนย์สูตร ป่าผลัดใบในเอเชียใต้ ป่าสนและป่าโอ๊กในไซบีเรีย ป่าชายเลนในซุนดาบันส์ ป่าหญ้าแถบตีนเขาหิมาลัย เคยมีผู้พบเห็นรอยเสือโคร่งที่ระดับความสูงถึง 3,000 เมตรในเทือกเขาหิมาลัย ป่าอ้อ (ขณะหากินในป่าอ้อ บางครั้งเสือโคร่งอาจยืนขึ้นสองขาด้วยขาหลังแล้วกระโดดขึ้นเพื่อให้พ้นยอดอ้อ เพื่อดูสภาพโดยรอบ) นอกจากนี้ยังพบได้ในทุ่งหญ้าและบริเวณที่ลุ่มน้ำขัง โดยสรุปแล้วปัจจัยสำคัญสำหรับถิ่นที่อยู่ของเสือโคร่งไม่ใช่ชนิดของป่า ขอเพียงแต่ให้มีความรกทึบพอให้เป็นที่หลบภัยและซุ่มซ่อนได้ มีเหยื่อขนาดใหญ่ให้ล่า และมีแหล่งน้ำตลอดปี
เสือโคร่งต้องการเหยื่อที่เพียงพอจึงต้องมีอาณาเขตที่กว้างขวางมาก อาณาเขตของเสือโคร่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันตามสภาพของแหล่งที่อยู่ ความอุดมสมบูรณ์ของเหยื่อ แหล่งน้ำ และเพศ สถานที่อยู่สำหรับเสือโคร่งตัวเมียจำเป็นต้องมีสถานที่ ๆ สะดวกสำหรับการออกลูกและเลี้ยงลูก ในขณะที่ตัวผู้มีอาณาเขตกว้างกว่าของตัวเมีย และจะซ้อนเลื่อมกับอาณาเขตของตัวเมียตัวอื่น 2-3 ตัว ในอุทยานแห่งชาติจิตวันในเนปาลและอุทยานแห่งชาติกันนาของอินเดีย เสือโคร่งตัวเมียมีอาณาเขตกว้าง 10-39 ตารางกิโลเมตร ตัวผู้มีอาณาเขตกว้าง 30-105 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ทางตะวันออกสุดของรัสเซีย เป็นแหล่งที่มีจำนวนสัตว์เหยื่อกระจัดกระจายไม่สม่ำเสมอและมีการย้ายถิ่นตามฤดูกาล อาณาเขตของเสือโคร่งพันธ์ไซบีเรียจึงกว้างถึง 100-400 ตารางกิโลเมตรสำหรับตัวเมีย และกว้างถึง 800-1,000 ตารางกิโลเมตรสำหรับตัวผู้
มีผู้ประเมินความหนาแน่นของเสือโคร่งในเทือกเขาซิโฮเตอะลินในรัสเซียตะวันออกไว้ว่ามีเพียง1.3-8.6 ต่อ 1,000 ตารางกิโลเมตร (รวมลูกเสือ) เท่านั้น ในขณะที่ในป่าเขตศูนย์สูตรมีความหนาแน่นของเสือโคร่งถึง 7-12 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร (รวมลูกเสือ)
เสือโคร่งหากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่และมักจะเป็นช่วงหัวค่ำและเช้ามืดแต่ก็อาจออกหากินในเวลากลางวันได้เป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในฤดูหนาวสำหรับเสือที่อาศัยอยู่ในเขตเหนือ เสือโคร่งมักใช้สายตาและการรับฟังช่วยในการล่ามากกว่าการรับกลิ่น อาหารส่วนใหญ่ของเสือโคร่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น กระทิง วัว กวาง เลียงผา แอนติโลป ควาย เก้ง และหมูป่า บางครั้งก็อาจล่าลูกช้างหรือลูกแรดได้ เสือโคร่งในอินเดียมักชอบล่าสัตว์ใหญ่มากกว่าสัตว์เล็ก เช่นในอุทยานแห่งชาติจิตวัน อาหารหลักของเสือโคร่งคือ กวางป่า[/amial] รองลงมาคือกวางดาว ในนาการาโฮลพบว่าอาหารหลักคือกระทิงและกวางป่า ส่วนเสือโคร่งในเมืองไทยไม่ค่อยล่าสัตว์ใหญ่บ่อยนัก จากการสำรวจพบว่าอาหารหลักของเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งคือเก้ง กวางป่า หมูป่า และหมูหริ่ง ตามลำดับ
มีเรื่องเล่าและตำนานมากมายเกี่ยวกับเสือโคร่ง
อย่างไรก็ตาม
อังกฤษ | Tiger |
---|---|
ฝรั่งเศส | Tigre |
เยอรมัน | Tiger |
สเปน | tigre |
อินเดีย | bagh |
อินโดนีเซีย | rimau, |
ลาว | เสือโคร่ง |
ฟาร์ซี | babr |
รัสเซีย | tigr |
ทิเบต | tag |
อูเดเก | amba |
จีน | 虎, |
ลักษณะทั่วไป
เสือโคร่ง (ภาพโดย Theo Allofs / WWF-US )
เสือโคร่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ตีนหน้าของเสือโคร่งจะมีนิ้วอยู่ข้างละ
ลายพาดกลอนของเสือโคร่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันมาก
ขนาดและน้ำหนักของเสือโคร่งแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันมาก
เสือที่อยู่ในเขตหนาว
เสือโคร่งดำ เสือโคร่งขาว
เสือโคร่งดำ
เสือโคร่งลายแปลกที่ถ่ายได้ที่ Similipal Tiger Reserve มีลักษณะแถบดำแผ่กว้างกว่าปกติจนมีสีดำมากกว่าสีส้ม อาจใกล้เคียงกับ "เสือแมลงภู่"
เสือโคร่งขาว
เสือโคร่งขาวในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
เสือโคร่งขาวไม่ใช่เสือโคร่งเผือกแท้
ชนิดย่อยของเสือโคร่ง
เสือโคร่งแบ่งออกเป็นชนิดย่อยหรือได้ชนิดย่อย | ชื่อวิทยาศาสตร์ | เขตกระจายพันธุ์ |
---|---|---|
เบงกอล | P.t. | คาบสมุทรเบงกอล |
แคสเปียน | P.t. | แถบประเทศตุรกี |
ไซบีเรีย | P.t. | ลุ่มแม่น้ำอะมูร์ในรัสเซีย |
ชวา | P.t. | เกาะชวา |
จีนใต้ | P.t. | ประเทศจีนตอนใต้ |
บาหลี | P.t. | อยู่ในเกาะบาหลี |
สุมาตรา | P.t. | เกาะสุมาตรา |
อินโดจีน | P.t. | คาบสมุทรอินโดจีน |
มลายู | P.t. | คาบสมุทรมลายูตอนใต้ |
พันธุ์ | น้ำหนัก | ความยาวลำตัว | ความยาวกระโหลก | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ตัวผู้ | ตัวเมีย | ตัวผู้ | ตัวเมีย | ตัวผู้ | ตัวเมีย | |
เบงกอล | 180-258 | 100-160 | 2.7-3.1 | 2.4-2.65 | 329-378 | 275-311 |
แคสเปียน | 170-240 | 85-135 | 2.7-2.95 | 2.4-2.6 | 316-369 | 268-305 |
ไซบีเรีย | 180-306 | 100-167 | 2.7-3.3 | 2.4-2.75 | 341-383 | 279-318 |
ชวา | 100-141 | 75-115 | 2.48- | - | 306-349 | 270-292 |
จีนใต้ | 130-175 | 100-115 | 2.3-2.65 | 2.2-2.4 | 318-343 | 273-301 |
บาหลี | 90-100 | 65- | 2.2-2.3 | 1.9-2.1 | 295-298 | 263-269 |
สุมาตรา | 100-140 | 75-110 | 2.2-2.55 | 2.15-2.3 | 295-335 | 263-294 |
อินโดจีน | 150-195 | 100-130 | 2.55-2.85 | 2.3-2.55 | 319-365 | 279-302 |
มลายู | 120 | 100 | . | . | . | . |
ต้นกำเนิด
ในอดีตเคยมีเสือโคร่งอยู่เป็นจำนวนมากจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์โดยเฮมเมอร์
ถิ่นที่อยู่อาศัย
เขตกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งในปัจจุบัน
เสือโคร่งอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่หลายประเภท
เสือโคร่งต้องการเหยื่อที่เพียงพอ
มีผู้ประเมินความหนาแน่นของเสือโคร่งในเทือกเขาซิโฮเตอะลินในรัสเซียตะวันออกไว้ว่ามีเพียง
อุปนิสัย
เสือโคร่งไม่กลัวน้ำ และชอบลงแช่น้ำในเวลาอากาศร้อน
เสือโคร่งหากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่และมักจะเป็นช่วงหัวค่ำและเช้ามืด