ปล่อย "ภูผา" กระทิงจากเขาใหญ่ไปเขาอ่างฤาไนย นำร่องแก้ปัญหาเลือดชิด

ปล่อย "ภูผา" กระทิงจากเขาใหญ่ไปเขาอ่างฤาไนย นำร่องแก้ปัญหาเลือดชิด

10 ม.ค. 2559

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ มกราคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี และประธานมูลนิธิป่ารอยต่อ จังหวัด เป็นประธานปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติรวม 15 ชนิด จำนวน 271 ตัว มีนายอดิศร นุชดำรงค์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชต้อนรับ โดยสัตว์ป่าทั้ง 15 ชนิด คือ กระทิง กวาง เนื้อทราย แมวดาว นกยูง นกแก๊ก ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ป่าตุ้มหูขาว เป็ดเทา เป็ดก่า นกกระลิงเขียด นกกระรางหัวหงอก นกแขกเต้า และ นกแก้วหัวแพร

นายอดิศรกล่าวว่า สำหรับกระทิงที่ปล่อยในครั้งนี้ ถือเป็นกระทิงตัวแรกของประเทศไทย ที่ก่อนหน้านี้กระทิงตัวดังกล่าวได้พลัดหลงกับฝูง และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ไปพบที่บริเวณหน่วยวนวัฒน์วิจัย หมูสี ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตอนนั้นกำลังกินน้ำ สภาพเนื้อตัวผอมโซ มีเห็บเต็มตัว เจ้าหน้าที่จึงนำตัวไปตรวจรักษา พบว่าเป็นโรคโลหิตจาง แต่หลังจากนั้นก็นำไปฟื้นฟูสุขภาพ จนร่างกายแข็งแรงขึ้นโดยค่อยๆ ปรับจากกินนมมากินหญ้า โดยเวลานี้สิ้นสุดระยะการกินนมแล้ว



"ท่านพระครูอาจารย์แดง เจ้าอาวาสวัดมงกุฏคีรีวัน ตั้งชื่อเจ้ากระทิงตัวนี้ว่า ภูผา โดยเวลานี้ ภูผาสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเข้าไปใช้ชีวิตในป่าธรรมชาติแล้ว ถือว่า ประเทศไทยเราสามารถปล่อยกระทิงที่เลี้ยงดูเข้าป่าธรรมชาติครั้งแรกของโลก โดยภูผาจะเป็นสัญลักษณ์ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนย" นายอดิศรกล่าว

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน  นายสัตวแพทย์สัตว์ป่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า กระทิงตัวนี้อายุประมาณห้าเดือน ถือว่าแข็งแรงมากพอที่จะไปใช้ชีวิตในป่าธรรมชาติแล้ว

เมื่อถามว่า ถือว่าอายุน้อยไปหรือไม่ที่จะปล่อยลูกกระทิงเข้าป่า และจะถูกกระทิงตัวอื่นๆทำร้ายหรือไม่ นายสัตวแพทย์ภัทรพล กล่าวว่า กระทิงที่ปล่อยไปนั้นจะเป็นสัญลักษณ์ของป่าแถบนี้ การปล่อยกระทิงก็ไม่ได้เข้าไปในป่าลึก แต่จะอาศัยอยู่บริเวณขอบป่า และเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ มันจะเข้าไปอยู่ในฝูง และจะมีการเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตแบบกระทิงป่าอย่างแท้จริง

"ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระทิง เพราะภูผา ถูกนำมาจากป่าเขาใหญ่ มาไว้ยังป่ารอยต่อเขาอ่างฤาไนย ซึ่งที่เขาใหญ่เขาแผงม้ามีประชากรกระทิงจำนวนมาก อาจจะเกิดปัญหาเลือดชิด หรือการผสมพันธุ์กันเองในกลุ่มเครือญาติ จะทำให้เกิดปัญหาด้านพันธุกรรมในอนาคต ภูมิคุ้มกันจะน้อยลง และรูปร่างอาจะพิกลพิการ ไม่สามารถเอาชีวิตรอดในธรรมชาติได้ รวมทั้งระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ดังนั้น การนำเจ้าภูผามาปล่อยในป่ารอยต่อถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ที่จะนำร่องการแก้ปัญหาสัตว์ผสมพันธุ์กันเองในหมูเครือญาติ" นายสัตวแพทย์ภัทรพลกล่าว
Powered by Wimut Wasalai