สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551

สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551

30 ธ.ค. 2551

สถานการณ์คุณภาพน้ำ

คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำผิวดิน อยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก ร้อยละ 23  56  19 และ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2549-2551) พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้เพิ่มขึ้น เช่น แม่น้ำเสียว ตรัง ลำตะคองตอนบน พอง ชี ลำปาวและแควใหญ่ มีคุณภาพน้ำเปลี่ยนระดับเป็นเกณฑ์ดี ส่วนแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง คุณภาพน้ำยกระดับจากเสื่อมโทรมมากเป็นระดับเสื่อมโทรม แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมในปี 2550 แล้วเปลี่ยนเป็นเสื่อมโทรมมากในปี 2551 ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาจากน้ำทิ้งชุมชน
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 16  48  29  และ ตามลำดับ เมื่อเทียบ ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2549-2551) มีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทยตอนใน ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าโรงงานฟอกย้อม กม. 35 ปากคลอง 12 ธันวา จังหวัดสมุทรปราการ ปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม โคลิฟอร์มทั้งหมด สำหรับภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่า สารแขวนลอยและโลหะหนักสูงเกินค่ามาตรฐานน้ำทะเล

สถานการณ์คุณภาพอากาศและระดับเสียง

สถานการณ์คุณภาพอากาศในภาพรวมดีขึ้น ปัญหามลพิษหลัก คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งพบในพื้นที่สระบุรี (ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ) ราชบุรี สมุทรปราการ ลำปาง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และนครราชสีมา ทั้งนี้ ยังมีปัญหามลพิษทางอากาศจากก๊าซโอโซนที่เกินมาตรฐานเป็นครั้งคราว เช่น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ราชบุรี เป็นต้น ส่วนก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และฝุ่นรวม เกินมาตรฐานบ้างเป็นครั้งคราว
คุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร พบปัญหาปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10)เกินมาตรฐานในบริเวณ  ริมถนน โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ในช่วง 8.1-205.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐาน   ร้อยละ 3.3 ซึ่งมีปริมาณลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมา (ปี 2550 ตรวจวัดได้ในช่วง 9.8-242.7 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานร้อยละ 4.7)  พื้นที่ที่พบปัญหา ได้แก่ ถ.ดินแดง ถ.พระราม  ถ.พระราม ถ.ราชปรารภ             ถ.พิษณุโลก ถ.สุขุมวิท ถ.เยาวราช ถ.สามเสน ถ.สุขาภิบาล1 เป็นต้น สำหรับพื้นที่ทั่วไปที่เป็นที่อยู่อาศัยจะมีปัญหาก๊าซโอโซนเกินมาตรฐานในทุกพื้นที่ ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 0.0-151.0 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb)       เกินมาตรฐานร้อยละ 0.3 ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ปี 2550 ตรวจวัดได้ในช่วง 0.0 – 186.0 ppb เกินมาตรฐานร้อยละ 0.2) 
คุณภาพอากาศในเขตปริมณฑล ในจังหวัดสมุทรปราการพบปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 12.2-249.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐานร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ปี 2550 ตรวจวัดได้ในช่วง 10.5-461.5 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานร้อยละ 16.4) ทั้งนี้แหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองเหล่านี้เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ รวมถึงการก่อสร้าง สำหรับจังหวัดปทุมธานี  สมุทรสาคร และนนทบุรี พบ PM10 เกินมาตรฐานเป็นครั้งคราว ส่วนก๊าซโอโซนส่วนใหญ่จะเกินมาตรฐานมากที่สุดที่จังหวัดนนทบุรี รองลงมาคือ ปทุมธานี สมุทรสาครและสมุทรปราการ
คุณภาพอากาศในพื้นที่ต่างจังหวัด ปัญหาหลักคือ PM10 พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีความรุนแรงน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปี 2551 ตรวจได้ 15-283.0 มคก./ลบ.ม. และมีจำนวนครั้งที่เกินมาตรฐานร้อยละ 14.1 (ปี 2550 ตรวจวัดได้ 31.0-302.2 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานร้อยละ 29.3) สาเหตุหลักมาจากอุตสาหกรรมโรงโม่ บดและย่อยหิน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจกรรมขนส่งและการจราจรในพื้นที่ จังหวัดที่ประสบปัญหา PM10 ยังมีจังหวัดราชบุรี จังหวัดลำปาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดระยอง สำหรับก๊าซโอโซน พบเกินมาตรฐานบางพื้นที่ จังหวัดที่พบเกินมาตรฐานมากที่สุด คือ ราชบุรี รองลงมาคือ ระยอง ชลบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์ สระบุรี ลำปางและนครราชสีมา 
สถานการณ์ระดับเสียง พบว่าระดับเสียงริมเส้นทางจราจรและพื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยระดับเสียงริมถนนในกรุงเทพมหานครมีค่าอยู่ในช่วง 62.8 – 85.5 เดซิเบลเอ (dBA) ค่าเฉลี่ยรายปี 70.1 dBA   (ปี 2550 ค่าเฉลี่ย 70.3 dBA) โดยบริเวณที่มีค่าเกินมาตรฐาน (70 dBA)  ทุกวัน คือ ถนนตรีเพชร ถนนลาดพร้าว ส่วนพื้นที่ในต่างจังหวัดระดับเสียงลดลงจากปี   ที่ผ่านมาเล็กน้อย (ปี 2551 ค่าเฉลี่ย 62.5 dBA ปี 2550 ค่าเฉลี่ย 62.9 dBA) ซึ่งบริเวณที่มีปัญหามากที่สุด คือ จังหวัดสระบุรี 

สถานการณ์กากของเสีย

ขยะมูลฝอยชุมชน คาดว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 15.04 ล้านตันหรือวันละ 41,213 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ประมาณ 0.32 ล้านตัน หรือร้อยละ 2.18 โดยในเขตกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะที่เก็บขนได้ประมาณวันละ 8,970 ตัน เขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยาคาดว่ามีประมาณวันละ 14,766 ตันและนอกเขตเทศบาลประมาณวันละ 17,477 ตัน ด้านการจัดการขยะมูลฝอย พบว่ามีขยะที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องประมาณ 15,444 ตันต่อวัน หรือ ร้อยละ 37 ของปริมาณขยะทั่วประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทั้งหมด ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยามีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาลและสามารถเดินระบบได้แล้วจำนวน 107 แห่ง สามารถกำจัดได้ประมาณ 5,240 ตันต่อวัน (ร้อยละ 35 ของปริมาณขยะในเขตเทศบาล) ส่วนนอกเขตเทศบาล สามารถกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลได้เพียง 1,234 ตันต่อวัน (ร้อยละ ของปริมาณขยะนอกเขตเทศบาล) สำหรับการใช้ประโยชน์มูลฝอยในปีนี้   คาดว่ามีการนำขยะมูลฝอยชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ประมาณ 3.405 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด 15.04 ตัน โดยมีการคัดแยกและนำกลับคืนขยะรีไซเคิล ประเภทเศษแก้ว กระดาษ เหล็ก อะลูมิเนียม ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชน ธนาคารขยะรีไซเคิล การนำขยะอินทรีย์มาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และการนำขยะมูลฝอยมาผลิตพลังงานไฟฟ้า
ของเสียอันตราย คาดว่าจะมีปริมาณของเสียอันตรายเกิดขึ้นประมาณ 1.862 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 เพียง 16,500 ตัน โดยของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมประมาณ 1.45 ล้านตัน และจากชุมชนประมาณ 0.41 ล้านตัน (รวมมูลฝอยติดเชื้อ) ทั้งนี้ของเสียอันตรายกว่าร้อยละ 70 ยังคงเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคตะวันออก การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน กรณีมูลฝอยติดเชื้อ (37,000 ตันต่อปี) จะกำจัดในเตาเผาของโรงพยาบาลที่เดินระบบประมาณ 400 แห่ง เตาเผามูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 13 แห่ง และเตาเผาเอกชน แห่ง ส่วนของเสียอันตรายจากชุมชนอื่นๆ มักถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไป ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ จัดให้มีระบบการคัดแยกของเสียอันตรายชุมชนออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป และเก็บรวบรวมเพื่อส่งรีไซเคิลหรือกำจัดในศูนย์จัดการของเสียอันตรายที่ถูกหลักวิชาการ

สถานการณ์สารอันตราย

ภาพรวมสถานการณ์การใช้สารเคมีในประเทศไทย พบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยมีปริมาณการนำเข้าและการผลิตสารเคมีในประเทศประมาณ 29.17 ล้านตัน น้อยกว่าปี 2550 ประมาณ 1.03 ล้านตัน จำแนกเป็นปริมาณการผลิตในประเทศประมาณ 24.05 ล้านตัน และนำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 5.12 ล้านตัน โดยสารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศสามารถจำแนกเป็นสารเคมีในกลุ่มสารอินทรีย์ประมาณ 1.92 ล้านตัน และกลุ่มสารอนินทรีย์ประมาณ 3.2 ล้านตัน สารเคมีเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  จากข้อมูลกรมควบคุมโรค  พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีทั้งสิ้น 1,650 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีด้าอุตสาหกรรม 202 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 1,448 ราย สำหรับอุบัติภัยจากสารเคมีในปี 2551 เกิดขึ้นทั้งสิ้น 29 ครั้ง ซึ่งมีสาเหตุจาก โรงงานอุตสาหกรรมและโกดังเก็บสารเคมี 14 ครั้ง การขนส่งสารเคมี ครั้ง และการลักลอบทิ้งสารเคมีและของเสียอันตราย ครั้ง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 17 ราย และผู้เสียชีวิต ราย

การตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษและบังคับการตามกฎหมาย

ผลจากการติดตามตรวจสอบการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษ โครงการ คือ 1. การติดตามตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ลุ่มน้ำ ตามโครงการการจัดการน้ำเสียแบบบูรณาการ จำนวน ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ 725 แห่ง เก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง 240 แห่ง พบว่าระบายน้ำทิ้งผ่านมาตรฐาน 82 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 34.17 และมีการระบายน้ำทิ้งเกินมาตรฐาน 158 แห่ง (ร้อยละ 65.83) ลุ่มน้ำท่าจีน ตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ 286 แห่ง เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งได้ 98 แห่ง พบการระบายมลพิษเกินมาตรฐาน 84 แห่ง (ร้อยละ 85.71) ลุ่มน้ำบางปะกง ตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ 281 แห่ง เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งได้ 50 แห่ง มีการระบายมลพิษเกินมาตรฐาน 30 แห่ง (ร้อยละ 60) โครงการที่ การติดตามการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษการเลี้ยงสุกรในพื้นที่วัดประดู่และคลองสาขาจังหวัดราชบุรี ตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสุกร 59 แห่ง เก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง 15 แห่ง พบว่ามีการระบายน้ำทิ้งเกินมาตรฐาน แห่ง (ร้อยละ 40) โครงการที่ การตรวจสอบและบังคับการแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงโม่ บด หรือย่อยหิน ผลการตรวจวัดการระบายฝุ่นละอองจากโรงโม่หินทั่วประเทศ 194 แห่ง มีโรงโม่หินที่ระบายฝุ่นเกินมาตรฐานจำนวน 16 แห่ง และจากการตรวจติดตามพบว่า มีโรงโม่หินที่ปฏิบัติตามกฎหมาย 15 แห่ง โครงการที่ การตรวจสอบตรวจจับยานพาหนะที่ระบายมลพิษเกินมาตรฐาน เรียกตรวจยานพาหนะ 7,459 คัน มีรถยนต์ที่มีควันดำเกินมาตรฐานและถูกคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราว 2,688 คัน (ร้อยละ 36) เจ้าของนำรถยนต์ไปปรับปรุงและขอยกเลิกคำสั่งแล้ว 2,121 คัน คิดเป็นร้อยละ 79 ของรถยนต์ที่ถูกคำสั่งห้ามใช้

การร้องเรียนปัญหามลพิษ

การร้องเรียนปัญหามลพิษมายังกรมควบคุมมลพิษในปี 2551 (1 ม.ค.-15 พ.ย. 51) มีจำนวนทั้งสิ้น 468 เรื่อง ซึ่งลดลงจากปี 2550 ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน  84 เรื่อง สำหรับปัญหามลพิษที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ร้อยละ 82 รองลงมาเป็นปัญหาน้ำเสีย ร้อยละ 11 และปัญหากากของเสีย ร้อยละ ตามลำดับ จังหวัดที่มีร้องเรียนมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร โดยมีช่องทางที่ประชาชนใช้ในการร้องเรียนมากที่สุด คือ โทรศัพท์ ร้อยละ 41 รองลงมาคืออินเตอร์เนท ร้อยละ 33 และทางจดหมาย ร้อยละ 20 ตามลำดับ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญในรอบปี

ปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน  ทุกๆ ปี ภาคเหนือตอนบนจะประสบปัญหาหมอกควันและไฟป่า ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก( Pm10) เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จากการเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพอากาศ พบว่าความรุนแรงของปัญหาฝุ่นละอองลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในปีที่ผ่านมา การดำเนินการของภาครัฐเพื่อควบคุมและลดปริมาณฝุ่นจากหมอกควันและไฟป่า ได้แก่ การกำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี 2551-2554 การควบคุมไฟในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน ปฏิบัติการฝนหลวง การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศกรณีมลพิษหมอกควันข้ามแดน และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 
การแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง : ผลจากการร้องเรียนปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยองทำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษและกำหนดการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ.2550-2554 ประสานติดตามการดำเนินโครงการ และประสานกับผู้ประกอบการให้ลดการปล่อยมลพิษ พร้อมทั้งประเมินผลการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
คุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว ปี 2551 : ชายหาดที่ได้รับการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมจำนวน 195 หาดทั่วประเทศ อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบชายหาดที่มีคุณภาพอยู่ในระดับ และ ดาว โดยได้สำรวจและเก็บตัวอย่างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและรายละเอียดด้านการท่องเที่ยวของชายหาดในจังหวัดระยอง ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ และตรัง แล้วเสร็จจำนวน 90 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46 คาดว่าจะดำเนินการสำรวจเสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม 2552 และจะประกาศผลได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2552
สถานการณ์คุณภาพน้ำจากเหตุการณ์อุทกภัย ปี 2551  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้เมื่อเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2551 ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำจากปัญหาอุทกภัย ประสานกรมชลประทานในการบริหารจัดการ เปิด-ปิด ประตูระบายน้ำให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ให้คำแนะนำในการใช้น้ำหมักชีวภาพในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และการจัดส่งแผนปฏิบัติการป้องกันและลดมลพิษทางน้ำในภาวะอุทกภัยและแนวทาง คู่มือเกี่ยวกับการรับสถานการณ์อุทกภัยให้แก่หน่วยงานในภูมิภาคและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบปัญหา ผลจากการควบคุมปริมาณน้ำและแก้ไขปัญหาส่งผลให้ไม่มีน้ำท่วมขัง ลดความเสียหายของบ้านเรือนและไร่นาของประชาชน
การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีเรือ “แก๊สลีโอ” อับปางในน่านน้ำจังหวัดสงขลา  เรือ “แก๊สลีโอ” บรรทุกก๊าซ LPG  หรือ ก๊าซหุงต้ม จำนวน 550 ตัน น้ำมันเตา 30,000 ลิตรและน้ำมันดีเซลจำนวน 20,000 ลิตร อับปางนอกชายฝั่งในเขตตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ธันวาคม 2550 ทำให้เกิดการแพร่กระจายของคราบน้ำมันและน้ำมันเตาบางส่วนได้เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งในพื้นที่หลายตำบลในอำเภอสทิงพระ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงดำเนินการตรวจสอบผลกระทบจากคราบน้ำมันพบว่าสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน และได้ประเมินค่าความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติคิดเป็นจำนวนเงิน 1,984,200 บาท และค่าใช้จ่ายในการติดตามตรวจสอบเพื่อขจัดมลพิษ เป็นเงิน 277,995 บาท โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทเจ้าของเรือ ตามมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

แนวทางการดำเนินงานบริหารจัดการมลพิษในภาพรวม

การบริหารจัดการคุณภาพน้ำและน้ำเสีย : มีมาตรการและการดำเนินงานที่สำคัญ ส่วนคือ 1. การจัดการแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำทะเล 2. การจัดการน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด ในส่วนการจัดการแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำทะเล ประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ จำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์แต่ละพื้นที่  กำหนดมาตรการป้องกัน ควบคุม และรักษาคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมและดำเนินการกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ สำหรับการจัดการน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด ประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทเกษตรกรรม ชุมชนและอุตสาหกรรมก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม การจัดทำเกณฑ์การปฏิบัติหรือแนวปฏิบัติที่ดีในการลดและป้องกันมลพิษจากแหล่งกำเนิด การผลักดันให้มีการจัดสร้างระบบน้ำเสียรวมชุมชนภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด สำรวจและติดตามประเมินผลประสิทธิภาพระบบฯ จำนวน 91 แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้น้ำเพื่อลดน้ำเสียและผลักดันการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางโดยการติดตั้งถังดักไขมัน เป็นต้น
การบริหารจัดการคุณภาพอากาศและเสียง : มีมาตรการและการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมและลดปริมาณการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดประเภทยานพาหนะ โรงงาน การก่อสร้าง เป็นต้น การเสริมสร้างศักยภาพหน่วยงานท้องถิ่นในการติดตามตรวจสอบและควบคุมการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้ประกอบการในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ต่างๆ  การตรวจสอบตรวจจับร้านจำหน่าย ซ่อมปรับแต่งรถยนต์ รถจักรยานยนต์และท่อไอเสีย การตรวจจับยานพาหนะที่มีเสียงดังเกินกำหนด เสนอแนะการกำหนดมาตรฐานระดับเสียงยานพาหนะ เป็นต้น

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai