จับยกแก๊งค์ ล่าโลมาอิระวดีทำเนื้อแดดเดียวขายเขมร

จับยกแก๊งค์ ล่าโลมาอิระวดีทำเนื้อแดดเดียวขายเขมร

3 ก.พ. 2552

วันที่ กุมภาพันธ์ นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากมีข่าวสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย และถูกทำร้ายจากกลางทะเลจนซากลอยมาติดชายฝั่งค่อนข้างถี่ในรอบเดือนที่ผ่าน มานั้น ตนได้สั่งการเร่งด่วนให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนชายฝั่งเข้มงวดในเรื่องนี้มาก ขึ้น โดยให้เร่งประสานงานกับเครือข่ายชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ให้คอยสอดส่อง การกระทำผิดเหล่านี้ ล่าสุด ได้รับการประสานงานจากเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่เฝ้าจับตาพฤติกรรมของแก๊งค์ ล่าโลมาในทะเลจ.ตราด ออกล่าโลมาอิระวดี หรือโลมาหัวบาตร เพื่อส่งไปขายให้พ่อค้าในประเทศกัมพูชา ทำเป็นเนื้อโลมาแดดเดียว จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ คน ขณะที่กำลังออกล่าโลมาอยู่กลางทะเล
“เบื้อง ต้น ได้ความว่า แก๊งค์ล่าโลมาดังกล่าวปฏิบัติการมานานพอสมควรแล้ว พวกเขาใช้วิธี จับโลมาอิระวดีตัวเป็นๆใส่กระชัง เพื่อล่อให้โลมาตัวอื่นๆที่อยู่นอกกระชังเข้ามาติดกับดัก โดยเอากระชังผูกติดกับเรือ แล้วลากไปช้าๆเหมือนลากอวน ปกติแล้วโลมาเป็นสัตว์ที่ฉลาด ไม่ค่อยจะเห็นโลมาติดอวนลากมากนัก คนพวกนี้จึงใช้กระชัง แล้วจับโลมาเป็นๆมาล่อเพื่อให้เข้าไปติดกระชังอีกที ถือเป็นวิธีการที่โหดร้ายพอสมควร หลังจากได้โลมามาแล้วก็จะส่งไปขายยังเขมร เพื่อให้พ่อค้าที่นั่นแล่เนื้อทำเป็นโลมาแดดเดียวขายอีกต่อหนึ่งผู้ต้องหา ที่กระทำเช่นนี้จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประมง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ”นายสำราญ กล่าว
โลมาอิระวดี (ภาพจาก WWF)

นาย สมชาย มั่นอนันตทรัพย์ นักวิชาการประมง ทช. กล่าวว่า สาเหตุที่มีข่าวสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น และโดนทำร้าย รวมกระทั่งตายกลางทะเลจำนวนมาก เป็นเพราะเวลานี้ทช.ได้ประสานงานกับเครือข่ายต่างๆจำนวนมาก และเครือข่ายเหล่านี้ให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวคราวที่เกิดขึ้นกับสัตว์ ทะเลหายากมาก จึงมีข่าวเรื่องนี้ออกมาอย่างสม่ำเสมอ
“สำหรับ สถานการณ์ของสัตว์ทะเลหายากในขณะนี้ ถือว่าค่อนข้างทรงตัว ภาพรวมคร่าวๆพบว่า โลมาทุกชนิดในทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันมีอยู่ประมาณ 300 ตัว วาฬชนิดใหญ่ ในอ่าวไทยมีประมาณ 11 ตัว เจอบ่อยสุดที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เช่น บรูด้า ที่อันดามันก็มีให้เห็นบ้าง เช่น วาฬเพชรฆาต วาฬเพชรฆาตดำ”นายสมชาย กล่าว

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai