โลกร้อน จริงหรือมั่วนิ่ม

โลกร้อน จริงหรือมั่วนิ่ม

6 ก.พ. 2552

กรณีที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ใช่ปรากฏการณ์โลกร้อน  รวมทั้งมีการนำข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) มาเสนอเพียงส่วนเดียว ทำให้หลายคนตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุจนสังคมมีสภาพที่เรียกว่า ไคลเมตเชนท์เครซี (Climate Change Crazy) นั้น
วันที่ กุมภาพันธ์ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ นักฟิสิกส์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า จากการตรวจสอบภูมิอากาศในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ทั้งนี้ยังพบว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ซึ่งมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศชิลี ก็ไม่ได้ส่งผลกับประเทศไทยโดยตรง จากข้อมูลของไอพีซีซีระบุว่า พื้นที่ ที่จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญกับลานีญานั้นมี โซน และประเทศไทยก็อยู่ในพื้นที่โซนที่ ที่เกือบจะตกขอบทวีปเอเชียจะได้รับผลกระทบบ้างเท่านั้นแต่ไม่ใช่ 100% เช่น ปีไหนเอลนีโญแรง ประเทศจีนก็จะร้อนมากหนาวไม่มาก ปีไหนลานีญาแรง ประเทศจีนก็จะหนาวมากและนาน
“เช่น ปีนี้ลานีญาแรง ประเทศจีนก็จะหนาวมาก ประเทศไทยซึ่งปกติได้รับอิทธิพลจากประเทศจีนอยู่แล้วก็จะได้รับผลกระทบนั้นด้วย แต่ไม่ใช่ผลกระทบโดยตรง แต่ถ้าจะถามว่าหน้าร้อนของปีที่ลานีญาแรงจะเป็นไง ตอบว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิประเทศ หน้าร้อนบ้านเราก็ยังคงมีเหมือนเดิม ที่ร้อนจัด 40-43 องศาเซลเซียสก็ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ แต่ช่วงเวลาที่ร้อนก็จะสั้นลงมา” ดร.สธน กล่าว
ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์

ดร.สธน กล่าวว่า หากไปตรวจสอบภูมิอากาศในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า อุณหภูมิจะขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้อยู่ตลอดเวลา อย่าลืมว่า เมื่อราว 30 ปีก่อน เด็กนักเรียนในกรุงเทพเคยออกมาเรียนนอกห้องเรียน เพราะอากาศหนาวมากมาแล้ว อากาศหนาวดังกล่าวจะกลับมาอีกก็ไม่แปลก ส่วนข้อมูลที่อดีตรองประธานาธิบดีอัลกอร์ ของสหรัฐอเมริกาเคยบอกไว้ในภาพยนต์เรื่อง An Inconvenient Truth ว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นด้วยนั้น เป็นการพูดความจริงไม่หมด เพราะจากข้อมูลเดียวกันนี้ในหนังเรื่องนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง แต่อุณหภูมิกลับไม่สูงตาม แต่ไม่มีใครพูดถึงข้อมูลตรงนี้
“2 ปีหลังจากนักวิทยาศาสตร์เอาข้อมูลจากหนังสารคดีเรื่องนี้มาดูอย่างละเอียด พวกเขาก็พบว่า เป็นหนังที่ให้ข้มูลเพียงด้านเดียว นักกฏหมายในประเทศอังกฤษคุยเรื่องนี้กันจนมีการฟ้องศาล ปัจจุบันศาลมีคำสั่งห้ามฉายเรื่องนี้ในโรงเรียน เพราะให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว และเวลานี้ตัวอัลกอร์เองเวลาพูดเรื่องนี้เขาจะไม่พูดคำว่า Global Warming อีก แต่จะใช้คำว่า Climate Change แทน อย่างไรก็ตาม ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นในโลกทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจริง แต่ที่ผ่านมาไม่มีการพูดถึงปัจจัยอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปริมาณเมฆ” ดร.สธน กล่าว
ดร. สธน กล่าวว่า น่าเป็นห่วงว่าเวลานี้มีหลายคนหลายกลุ่มพยายามเอาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศมาสร้างประโยชน์ และทำให้สถานการณ์บางอย่างเลวร้ายลง เช่น เรื่องเล็กๆ อย่างการผลิตถุงผ้าออกมาจำนวนมากของหลายหน่วยงาน โดยบอกว่าถุงผ้าแก้โลกร้อน อยากจะถามกลับไปว่า ในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรแล้ว การเอาถุงพลาสติกเก่า ๆ กลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าที่สุด กับการผลิตถุงผ้าใหม่อะไรจะอนุรักษ์มากกว่ากัน ถุงผ้าใหม่หมายถึงต้องตัดต้นไม้เพิ่ม ทำเส้นใย มีกระบวนการต่างๆ ถ้าต้องการแก้โลกร้อนจริงทำไมไม่เอาถุงพลาสติกเก่า ๆ ที่มีอยู่แล้วมาใช้
สมิทธ ธรรมสโรช

“เราเอาเรื่องโลกร้อนไปผูกกับสารพัดเรื่อง จนลืมทำบางอย่างที่จะต้องทำไป รวมทั้งเป็นการผลักภาระว่าเป็นเรื่องของภาพรวมในโลกไม่เกี่ยวกับเรา เช่น น้ำท่วมเราโทษโลกร้อน แทนที่จะมาบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบมากขึ้น หรือพายุเข้าก็โทษว่าโลกร้อน ทั้ง ๆ ที่เรื่องลมฟ้าอากาศเราสามารถพยากรณ์ได้แม่นยำและหาทางป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ สังคมต้องมีสติกับเรื่องนี้มากขึ้น” ดร.สธน กล่าว
นาย สมิทธ ธรรมสโรจน์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ยืนยันว่าข้อมูลการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือสตอร์มเซิร์จ มีโอกาสเกิดในกรุงเทพ รวมทั้งแกนโลกที่เอียงมากขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้นเป็นเรื่องจริง ใครไม่เชื่อหรือออกมาตอบโต้ข้อมูลนี้ และหากเกิดเหตุนี้ขึ้นมาจริงๆ ก็ต้องรับผิดชอบ ความคิดทางวิชาการแตกต่างกันได้ ตนให้ข้อมูลอะไรก็มีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันได้ นักวิชาการเหล่าอาจจะอ้างเพียงตำราแต่ประสบการณ์ไม่มี ตนจะไม่ไปเถียงอะไร ก็ขอให้ดูว่าฤดูร้อนที่จะมาถึงจะร้อนตามที่ตนและมีพายุตามที่ตนบอกหรือไม่
“ผมไม่ไปเถียงกับท่านหรอก ท่านสอนทางนี้อยู่แล้ว มีลูกศิษย์เยอะ เถียงไปเดี๋ยวลูกศิษย์จะไม่เชื่อถือ ขอให้ท่านทายถูกก็แล้วกัน จะได้ไม่ต้องมีผลกระทบกับประชาชน ผมวิเคราะห์ข้อมูลจากดาราศาสตร์ มีแนวโน้มจะถูกมากกว่า เอกสารเรื่องโลกร้อนของไอพีซีซีก็มีอยู่แล้วหนากว่า 1,400 หน้า ทำไมอาจารย์พวกนี้ไม่อ่าน มัวแต่วิเคราะห์เอาเองทำไม” นายสมิทธกล่าว
ด้านนายสมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิยา กล่าวว่าถึงเรื่องที่นักวิชาการบางรายออกมาพูดว่า ฤดูร้อนในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ อุณหภูมิน่าจะสูงถึง 42 องศาเซลเซียส และอาจจะเกิดคลื่นความร้อนหรือฮีทเวฟแบบประเทศอินเดียและออสเตรเลียว่า ตัวเลขอุณหภูมิดังกล่าว ถือเป็นค่าเอ็กตรีมปกติ และเป็นช่วงพีกสูงสุดของหน้าร้อนในช่วงเดือนเมษายนที่อาจจะสูงถึง 42-43 องศาเซลเซียสได้ในบางวันเท่านั้น โดยเฉพาะภาคอีสาน ซึ่งมีโอกาสร้อนได้ในระดับนั้น และจากข้อมูลบันทึกอุณหภูมิสูงสุดในรอบ 57 ปีพบว่าประเทศไทยยังไม่เคยมีอุณหภูมิสูงผิดปกติในระดับ 46-47 องศา โดยวันที่มีอุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศาฯ เพียง วันคือ 27 เมษายน 2503 ขณะที่ตัวเลขค่าสูงสุดในอดีตช่วงหลายสิบปีก็อยู่ในระดับ 42-43 องศาฯ อย่างไรก็ ตาม สำหรับปี 2552 คาดว่าอากาศช่วงหน้าร้อนส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับปกติ และอาจไม่ร้อนเท่ากับปี 51 ซึ่งอุณหภูมิร้อนสูงสุด 41-42.5 องศา เนื่องจากเพราะตรวจพบปรากฎการณ์ลานีญาทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งจะส่งผลโดยอ้อมต่อไทย กล่าวคือทำให้อุณหภูมิไม่สูงเท่าไหร่ และจะทำให้มีฝนมากขึ้นด้วย
เมื่อถามว่าประเทศไทยมีโอกาสเจอคลื่นความร้อนหรือไม่ นายสมชายกล่าวว่า ไม่มีโอกาสแน่นอน เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาพพื้นที่ที่จะมีมวลอากาศร้อนลงมาจนทำให้เกิดคลื่นความร้อนได้ ประกอบกับไม่ได้มีทะเลทรายเหมือนอินเดียหรือออสเตรเลีย ขณะเดียวกันการจะเกิดคลื่นความร้อนได้ต้องมีอุณหภูมิร้อนเกิน 40 องศาต่อเนื่องกันเป็นสัปดาห์ ๆ แต่เนื่องจากของไทยจะมีความชื้นจากทะเลที่จะพัดมากลบความร้อนในประเทศได้ ดังนั้นโอกาสที่จะเจอคลื่นความร้อนเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยากำลังให้ความสนใจเรื่องการผันแปรของภูมิอากาศ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดรายวัน ราย วันหรือรายเดือนในเวลาสั้น เช่น อุณหภูมิสูงผิดปกติ หนาวผิดปกติ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู ซึ่งจะมีผลกระทบมากกว่า 

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai