กรมอุทยานเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

กรมอุทยานเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า

นิ่มยังครองแชมป์ถูกล่าเป็นยาโป้ว อุทยานฯ ส่งเต่าดาวกิ้งก่าคะมีเลียนกลับถิ่นมาดากัสกา

9 เม.ย. 2552

วันที่ เมษายน นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงข่าวว่า ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายนนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ เรื่องความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อลดอาชญากรรมสัตว์ป่า ที่โรงแรมมณเฑียร เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ทั้งนี้จากความร่วมมือของกรมอุทยานแห่งชาติฯร่วมกองบังคับการปราบการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) เมื่อปีที่ผ่านมา สามารถจับกลุ่มผู้กระทำผิดและสัตว์ของกลางได้จำนวนมาก คือ เป็นสัตว์มีชีวิต จำนวน 9,072 ตัว เป็นซากสัตว์ป่า 418 ตัว กับอีก 102 ชิ้น สัตว์ป่าที่จับได้มากที่สุดคือ ตัวนิ่ม หรือ ลิ่น รองลงมาคือ ซากเสือ เต่าดาว จากประเทศมาดากัสการ์ ตัวคะมีเลียน ลิงลม และนกชนิดต่างๆ โดยประเทศไทยจะเป็นเส้นทางผ่านของการค้าขายสัตว์เหล่านี้ที่สำคัญ โดยต้นทางจะมาจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ผ่านไทย ออกไปทางลาว โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ประเทศจีน

“สำหรับตัวนิ่ม หรือลิ่นนั้น ต้นทางตัวละ พันบาท แต่เมื่อไปถึงประเทศจีนจะราคาตัวละ หมื่นบาท เพื่อไปทำยาโป้วและยาบำรุงกำลังทางเพศ ส่วนผู้รับจ้างขนส่งสัตว์เหล่านี้จะได้รับค่าจ้างเที่ยวละ หมื่นบาท ช่วงที่ตลาดมีความต้องการสัตว์พวกนี้สูงจะมีการขนส่งเดือนละ เที่ยวด้วยกัน ถือว่ามีรายได้ดีมาก แต่ช่วงหลังเมื่อมีการกวดขันมากขึ้น การลักลอบก็จะลดลงตามลำดับ ล่าสุดที่จับตัวนิ่มได้ 242 ตัวที่ด่านศุลกากรนั้น หลังตรวจสภาพแล้วสัตวแพทย์ระบุว่า ผ่านการเดินทางมาแล้วไม่ต่ำกว่า วัน หลังจากปฐมพยาบาลแล้ว รอดชีวิตประมาณร้อยกว่าตัวเท่านั้น และยังต้องนำไปให้สถานีรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพื้นที่ต่างๆ เลี้ยงดูจนกวาคดีจะสิ้นสุด ซึ่งถึงขณะนี้กรมอุทยานฯ ดูแลตัวนิ่มหรือลิ่นประมาณ 364 ตัว ก่อนหน้ามีมากกว่านี้ แต่มันก็จะทยอยตายเรื่อย ๆ เนื่องจากเลี้ยงยากมาก” นายเกษมสันต์กล่าว
นายเกษมสันต์กล่าวว่า เกี่ยวกับสัตว์ของกลางแล้ว ตามข้อตกลงในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตสนั้น หากเจ้าหน้าที่จับสัตว์ของกลางมาได้ เมื่อผ่านขั้นตอนทางกฎหมายเรียบร้อยแล้ว หากต้องการจะส่งสัตว์เหล่านั้นคืนประเทศต้นกำเนิดก็สามารถทำได้ โดยประเทศต้นกำเนิดสัตว์เหล่านั้นจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูฟื้นฟูอนุบาลก่อนที่สัตว์จะถูกส่งกลับรวมทั้งค่าเดินทางกลับด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยส่งลิงอุรังอุตังจำนวน 53 ตัวกลับสู่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมจ่ายเงินค่าดูแลและขนส่งกลับทั้งหมด และล่าสุดก็เพิ่งส่งเต่าดาวและกิ้งก่าคะมีเลียนที่ยึดได้กลับสู่ประเทศมาดากัสกาเช่นเดียวกัน

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai