กรมป่าไม้เตรียมผลักดัน 68 สำนักและที่พักสงฆ์ออกจากป่าสงวนเหตุรุกป่า!!

กรมป่าไม้เตรียมผลักดัน 68 สำนักและที่พักสงฆ์ออกจากป่าสงวนเหตุรุกป่า!!

4 ส.ค. 2552

วันที่ สิงหาคม นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า จากเดิมที่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มักจะได้รับการร้องขอให้เข้าไปตามหาพระสงฆ์ที่เข้าไปธุดงค์ในป่าแล้วสูญหาย หรือพลัดหลง รวมทั้งจากการสำรวจ พบว่าพื้นที่ป่าสงวน และป่าอนุรักษ์หลายแห่งถูกพระสงฆ์เข้าไปจับจองสร้างสำนักสงฆ์ หรือที่พักสงฆ์แบบถาวร โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีลักษณะการรุกพื้นที่ป่า จึงได้ตั้ง คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เป็นประธาน ล่าสุดคณะกรรมการได้ประชุมร่วมกันและมีมติออกมาว่า ให้กรมป่าไม้เร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหานี้ทันที
นายสมชัย กล่าวว่า กรมป่าไม้ ได้สำรวจจำนวนสำนักสงฆ์ และที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ พบว่ามีจำนวน 5,529 แห่ง  รวมพื้นที่ 192,763 ไร่ ในจำนวนนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 4,249 แห่ง พื้นที่ 157,226 ไร่  ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จำนวน  368 แห่งพื้นที่ 12,668 ไร่  เขตอุทยานแห่งชาติ 172 แห่ง พื้นที่ประมาณ  8,768 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  41 แห่งพื้นที่ 1,490ไร่ เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก. 320 แห่ง พื้นที่ 3,545 ไร่ และพื้นที่ของรัฐ ที่เอกชนมีเอกสารสิทธิ์  380 แห่งพื้นที่ 9,066 ไร่ โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 2538 เคยมีการพูดคุยกันถึงปัญหานี้มาแล้ว แต่ไม่ได้มีการสานต่อ โดยขณะนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่พักสงฆ์ในพื้นที่ ป่าไม้ และได้กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าพัก และสร้างที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้เอาไว้ ซึ่งครั้งนี้ก็จะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาปัดฝุ่นดำเนินการเรื่องนี้อีกครั้ง กฎเกณฑ์ดังกล่าว ประกาศโดยใช้อำนาจตามกฎหมายทั้ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่สำคัญ เช่น ห้ามที่พักสงฆ์ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในโซน ซี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 มีนาคม 2535 คือ พื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและไม่มีที่ชุมชนไปอาศัยอยู่ และเข้าไปอยู่หลังจากมีการทำทะเบียนที่พักกสงฆ์เสร็จสิ้นแล้ว และไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ
“เวลานี้ เราจำแนกรายละเอียดของที่พักสงฆ์แล้วเสร็จ 3,056 แห่งพบว่า มี 68 แห่งที่ต้องผลักดันออกจากพื้นที่ทันที เนื่องจากไม่เข้ากับมติที่กำหนดไว้ เช่น อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์โซนซี นอกจากนี้ยังมีการรายงานปัญหาบางแห่งบุกรุกขยายพื้นที่ สร้างพี่พักถาวร หอฉัน ห้องน้ำ ตัดต้นไม้เพื่อทำลานปฏิบัติธรรม  ทั้งนี้มีการ รายงานจากกรมอุทยานฯว่า ได้เข้าดำเนินการกับสำนักสงฆ์ภูไม้ฮาว ที่เข้าไประเบิดถ้ำและตัดไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล จ.มุกดาหาร ศาลได้พิพากษาจำคุกจำเลยไปแล้วเป็นเวลา ปี เดือน ที่พักสงฆ์และสำนักสงฆ์ที่เข้าข่ายต้องรีบผลักดันออกจากพื้นที่โดยทันทีนั้นส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่ จ.เลย 21 แห่ง ขอนแก่น 15 แห่ง ที่เหลือก็กระจายอยู่ตามภาคอื่นๆ ซึ่งมีทั่วประเทศ” นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวยืนยันว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ทั้งในวัดในสำนักสงฆ์ยังให้ความร่วมมือเรื่องการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและ ป่าไม้กับกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ ดีอยู่ ทั้ง 68 แห่งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งและเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
“เรารู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อการเข้าไปดำเนินการ แต่การกระทำจะใช้วิธีแบบชาวพุทธ คือ จะอธิบายให้ท่านเข้าใจว่าท่านทำผิดอย่างไร ขอนิมนต์ออกมาจากพื้นที่บริเวณนั้นก่อนและให้ท่านปฏิบัติอย่างถูกต้อง การกระทำทั้งหมดมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะกรรมการภาคดูแลอย่างใกล้ชิด
ด้านนายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.)กล่าวว่า เรื่องสำนักสงฆ์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ถึงขั้นต้องเร่งรัดผลักดันออกนั้นไม่มี แต่ถ้าเป็นการบุกรุกเข้าไประเบิดถ้ำ ตัดไม้ออกมาสร้างกุฏิ ก็จะเข้าจับกุมดำเนินการตามกฎหมายทันที ส่วนเรื่องพระธุดงค์นั้น อส. ยังไม่มีนโยบายห้ามพระสงฆ์เข้าไปธุดงค์ในป่า แต่ก็ไม่สนับสนุน เพราะบางพื้นที่ในป่าอนุรักษ์นั้นค่อนข้างจะเปราะบางและมีสัตว์ป่าอันตรายจำนวนมาก
“บางพื้นที่ที่พระธุดงค์เข้าไปนั้นมีหมาในชุกชุมมาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อพระเอง ล่าสุดที่พระธุดงค์หลงป่าที่เขาใหญ่นั้นบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่หมีค่อนข้างชุกชุม และตอนนั้นกรมอุทยานฯ ต้องจ่ายค่าน้ำมันเฮลิคอปเตอร์ในการตามหาเป็นเวลา วันถึง ล้านบาท” นายเกษมสันต์กล่าว

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai