แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติก
Afro-Asiatic Wildcat
Felis lybica
ชื่อแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกเป็นชื่อใหม่ แต่ไม่ใช่แมวชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ แต่เป็นแมวที่ได้รับการตั้งเป็นแมวชนิดใหม่จากการยุบรวมระหว่างแมวป่าสองชนิดย่อยเข้าด้วยกัน นั่นคือ แมวป่าแอฟริกา และแมวป่าเอเชีย ซึ่งทั้งสองเคยเป็นชนิดย่อยของแมวป่า1ร่วมกับแมวป่ายุโรป ต่อมาในปี 2560 มีการจัดอนุกรมวิธานของแมวป่าในกลุ่มนี้เสียใหม่ โดยให้แยกแมวป่ายุโรปออกไปเป็นชนิดต่างหาก ส่วนแมวป่าพันธุ์แอฟริกาและแมวป่าพันธุ์เอเชียยุบเข้าเป็นชนิดเดียวกันเป็นแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติก (Felis lybica )
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกมีขนาดเท่าแมวบ้านตัวโตแต่สัดส่วนขายาวกว่าแมวบ้านหนัก 3-8 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 45-80 เซนติเมตร ขนสั้นเกรียนสีน้ำตาลเหลืองอมแดงหรืออมเทา มีลายจุดและริ้วจาง ๆ ตามลำตัว กระบอกปากสั้น รอบปากมีสีออกไปทางส้ม มีแต้มขาวใต้ตา หางยาว 30 เซนติเมตร สันหางด้านบนสีดำ มีลายปล้องสีดำสามปล้อง ปลายหางดำ อุ้งตีนดำเช่นเดียวกับแมวตีนดำ เทียบกับแมวป่ายุโรปแล้ว แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกค่อนข้างบอบบางกว่า ลวดลายไม่เด่นชัดเท่า และปลายหางลู่เรียวกว่า
เคยเป็นที่เข้าใจว่าแมวบ้านสืบเชื้อสายมาจากแมวป่ายุโรปแต่การจัดอนุกรมวิธานใหม่นี้พบว่าบรรพบุรุษของแมวบ้านที่แท้จริงคือแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกชนิดนี้
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกเริ่มอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ตั้งแต่9,000-10,000 ปีก่อนในดินแดนเมโซโปเตเมีย เมื่อผู้คนเริ่มรู้จักการทำการเพาะปลูก และรู้วิธีที่จะใช้ประโยชน์จากแมวป่าเพื่อให้ช่วยกำจัดหนูที่มารบกวนพืชผล ในอียิปต์มีหลักฐานว่าแมวป่าแอฟริกาเริ่มกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของคนเมื่อราว 4,000 ปีก่อน และเมื่อ 2,000 ปีก่อน แมวบ้านก็เริ่มแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลก
ตามการปรับปรุงอนุกรมวิธานของแมวในปี2560 โดยกลุ่มแคตสเปเชลไลซ์กรุ๊ป ได้แบ่งแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกออกเป็นสามชนิดย่อย ได้แก่ Felis lybica lybica มีลายจุดสีอมแดง ใบหูสีเหลืองซีด ใบหน้าขาว พบในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตก คาบสมุทรอาหรับ ตะวันออกกลาง หมู่เกาะคอร์ซิกา เกาะซาร์ดิเนีย และเกาะครีต Felis lybica cafra มีลำตัวสีอมแดงและใบหูเป็นลายขวาง พบในทวีปแอฟริกาตอนใต้ และ Felis lybica ornata มีสีอ่อน และมีลายจุดสีดำหรือน้ำตาล พบในตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย มองโกเลีย และจีน
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกอาศัยในพื้นที่หลายประเภททั้งทะเลทราย พื้นที่กึ่งทะเลทราย ทุ่งหญ้า ป่าไม้แคระ ป่าภูเขา ป่าโปร่ง มีเพียงป่าฝนเขตร้อนเท่านั้นที่ไม่พบ ไม่พบในป่าแบบแอลป์และทุ่งหญ้าสเต็ปป์ แมวป่าชนิดนี้ดูจะชื่นชอบอาศัยอยู่ตามป่าไม้แคระกึ่งทะเลทรายเป็นพิเศษ และชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ อยู่ได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พบได้ทั่วทวีปแอฟริการวมถึงคาบสมุทรอาหรับ ในเอเชียพบได้ในตะวันออกกลาง ตอนใต้ของรัสเซีย ตะวันตกของจีน มองโกเลีย และตะวันตกของอินเดีย
แมวป่าแอฟโฟรเอเชียติกเป็นสัตว์รักสันโดษหากินโดยลำพัง บางครั้งอาจรวมกลุ่มกันชั่วคราวก็ได้ หากินกลางคืนมากกว่ากลางวัน โดยเฉพาะในพื้นที่อากาศร้อนและใกล้ชุมชนก็จะหากินในเวลากลางคืนมากขึ้น ส่วนใหญ่หากินบนพื้น แต่ก็ปีนป่ายได้เก่ง อาหารหลักคือสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โวล นอกจากนี้ก็ยังมีกระต่ายป่า นก แมลง กบ กิ้งกา ปลา บางครั้งก็อาจล่าสัตว์ใหญ่ขึ้นมาอย่างเป็ดไก่ ลูกแอนติโลปหรือลูกแพะ บางครั้งก็อาจกินซากได้
พื้นที่หากินของแมวตัวผู้จะซ้อนเหลื่อมกับพื้นที่ของตัวเมียหลายตัวในอุทยานแห่งชาตินากูรูในเคนยา พบว่าแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกตัวผู้ตัวหนึ่งมีพื้นที่หากิน 4.3 ตารางกิโลเมตร ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พบว่าพื้นที่หากินของตัวเมียตัวหนึ่งกว้างถึง 52.7 ตารางกิโลเมตร ในอุทยานแห่งชาติคาลาฮารีเกมส์บ็อกในแอฟริกาใต้ ตัวเมียมีพื้นที่หากินราว 6-10 ตารางกิโลเมตร
ศัตรูในธรรมชาติของแมวป่าเช่นหมาจิ้งจอก หมาป่า นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกในเอเชียผสมพันธุ์ได้เกือบตลอดทั้งปีส่วนที่อยู่ในแอฟริกา ฤดูผสมพันธุ์มักอยู่ในช่วงกันยายนถึงเดือนมีนาคม และออกลูกในราวเดือนมกราคม-มีนาคม
แม่แมวตั้งท้องนานราว56-68 วัน ออกลูกคราวละ 1-8 ตัว เฉลี่ย 3.4 ตัวต่อครอก โดยแม่แมวจะเลือกออกลูกในโพรงหรือในพุ่มไม้ที่รกทึบ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 9-12 เดือน ในแหล่งเพาะเลี้ยงมีอายุขัย 16 ปี
การที่ถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติต้องเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ทำให้แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกต้องสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย บีบให้แมวป่าชนิดนี้ต้องเผชิญหน้ากับมนุษย์มากขึ้น ในบางพื้นที่ของแอฟริกา แมวป่าถูกกวาดล้างอย่างหนักหน่วงเพราะถือว่าเป็นภัยต่อสัตว์ในฟาร์ม บางพื้นที่เช่น คาลาฮารี โคมานี และไมเออร์ ก็นิยมใช้ขนแมวป่าชนิดนี้เป็นเครื่องประดับ การที่แมวป่ามีโอกาสได้ใกล้ชิดแมวบ้านประกอบกับพันธุกรรมของแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกกับแมวบ้านใกล้ชิดกันมาก จึงผสมข้ามพันธุ์กันได้ เกิดลูกผสมที่ปนเปื้อนพันธุกรรมของแมวบ้าน ทำให้สายพันธุ์แท้หายไป ปัญหาด้านพันธุกรรมปนเปื้อนนี้เองที่เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของแมวป่าชนิดนี้ นอกจากนี้แมวป่าก็อาจติดโรคจากแมวบ้านด้วย
อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรของแมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกยังพบได้ได้ทั่วไปในเขตกระจายพันธุ์ ไอยูซีเอ็นประเมินว่ามีความเสี่ยงน้อย (2019)
คำว่า "แมวป่า" ในบทความนี้ หมายถึง Felis silvestris ในความหมายเดิมที่รวมเอาแมวป่ายุโรป แมวป่าเอเชีย และแมวป่าแอฟริกาไว้ด้วยกันโดยไม่ระบุชนิดย่อย ตามชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า (wildcat) แต่มิได้หมายถึง แมวป่า (Felis chaus ) ทีคนไทยเรียก เสือบอง หรือ เสือกระต่าย
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกมีขนาดเท่าแมวบ้านตัวโตแต่สัดส่วนขายาวกว่าแมวบ้าน
บรรพบุรุษของแมวบ้าน
เคยเป็นที่เข้าใจว่าแมวบ้านสืบเชื้อสายมาจากแมวป่ายุโรป
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกเริ่มอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ตั้งแต่
ตามการปรับปรุงอนุกรมวิธานของแมวในปี
แมวป่าแอฟโร-เอเชียติก (ภาพโดย Leon Emanuel)
ชื่อเรียกแมวป่าแอฟโฟรเอเชียติกในภาษาอื่น
แอลจีเรีย | tarda-tarhda, |
---|---|
อาหรับ | sooner |
Berber | emischisch |
Bournouan | larrouye |
Botswana | /nua; |
Chad | Batou |
Ethiopia | ye-dw |
ฝรั่งเศส | chat |
เยอรมัน | Falbkatze |
Kenya | nyau; |
Kiswahili | kaka |
Kotoko | gamsi |
Libya | tarda-tarhda, |
Mali | kongo |
Mauritania | Wuundu |
Niger | tarda-tarhda, |
Namibia | !ores; |
Saudi | biss |
Sara | moula |
Senegal | Wuundu |
Somalia | Bisad |
South | Vaalboskat; |
Spanish | gato |
Sudan | kadees |
Tanzania | ogwang |
Uganda | mbaki |
Wolof | Wuundu |
Zimbabwe | igola; |
ถิ่นที่อยู่อาศัยและเขตกระจายพันธุ์
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกอาศัยในพื้นที่หลายประเภท
อุปนิสัย
แมวป่าแอฟโฟรเอเชียติกเป็นสัตว์รักสันโดษ
พื้นที่หากินของแมวตัวผู้จะซ้อนเหลื่อมกับพื้นที่ของตัวเมียหลายตัว
ศัตรูในธรรมชาติของแมวป่าเช่น
ชีววิทยา
แมวป่าแอฟโฟร-เอเชียติกในเอเชียผสมพันธุ์ได้เกือบตลอดทั้งปี
แม่แมวตั้งท้องนานราว
ภัยคุกคาม
การที่ถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติต้องเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
อย่างไรก็ตาม
หมายเหตุ
[1]ข้อมูลอ้างอิง
- Afro-Asiatic Wildcat (Felis lybica) จาก wildcatfamily.com
- Afro-Asiatic Wildcat จาก iucnredlist.org
- African wildcat จาก catsg.org
- Felis silvestris จาก Animal Diversity Web