ชะนีมงกุฎ

Pileated Gibbon, Capped Gibbon, Crowned Gibbon, Indo-Chinese Lar Gibbon

Hylobates pileatus

ชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus(ภาพโดย วิมุติ วสะหลาย)


ชะนีมงกุฎมีรูปร่างใกล้เคียงกับชะนีธรรมดา หนัก กิโลกรัม แต่ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ขนบริเวณกระหม่อมจะยาวและหยาบ จนดูแบนเป็นวงคล้ายสวมมงกุฎ ตัวผู้และตัวเมียสีต่างกัน ตัวผู้สีดำปลอดทั้งตัว ขนกระหม่อมมีวงสีขาวครอบ ตัวเมียสีขาวอมเทาหรือเหลือง ส่วนหน้าอกและกระหม่อมสีดำ 

ชะนีมงกุฎอาศัยอยู่ในป่าดิบ และป่าเบญจพรรณ พบในตะวันออกของประเทศไทย ตะวันตกของกัมพูชา และตะวันตกเฉียงใต้ของลาว หากินบนต้นไม้เวลากลางวัน กินผลไม้เป็นอาหารหลัก กินใบไม้บ้าง บางครั้งอาจกินสัตว์เล็ก ๆ ด้วย 

ชะนีมงกุฎอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ และจะจับคู่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิต แม่ชะนีตั้งท้องทุกสองสามปี อุ้มท้องนานราว 7-8 เดือน ออกลูกคราวละตัว ในแหล่งเพาะเลี้ยง ชะนีมงกุฎมีอายุขัยประมาณ 34 ปี

ปัจจุบันมีสถานะถูกคุกคาม และจำนวนประชากรลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและจากธุรกิจจับลูกชะนีมาเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยเคยมีชะนีมงกุฎมากถึง 1-2 ล้านตัว แต่การประเมินในปี 2518 คาดว่าเหลืออยู่ราว 13,600 ตัว 

ทราบหรือไม่?

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นป่าแห่งเดียวในโลกที่มีทั้งชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎ
Hylobates pileatus
ชื่อไทยชะนีมงกุฎ
ชื่อวิทยาศาสตร์Hylobates pileatus
ชั้นMammalia
อันดับPrimates
วงศ์Hylobatidae
สกุลHylobates

ข้อมูลอ้างอิง

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 24 ส.ค. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 15 ต.ค. 66

Powered by Wimut Wasalai