ความคืบหน้าละมั่งที่ทรงปล่อย ผ่านไปเจ็ดปีออกลูกหลานแล้ว 5 ครอก

ความคืบหน้าละมั่งที่ทรงปล่อย ผ่านไปเจ็ดปีออกลูกหลานแล้ว 5 ครอก

10 มี.ค. 2561

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เพื่อดูเรื่องการจัดการสัตว์ป่าในพื้นที่เพื่อสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ ได้รับทราบเรื่องน่ายินดีกี่ยวกับละอง-ละมั่งที่ปล่อยไว้ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก 

ละอง และ ละมั่ง เป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน ละองเป็นชื่อเรียกตัวผู้ ส่วนละมั่งเป็นชื่อเรียกตัวเมีย เป็นกวางชนิดหนึ่งที่มีเขาแผ่กว้างสวยงามมาก เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนของไทย อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์


นายไพฑูรย์ อินทบุตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ กล่าวย้อนความว่า เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2554 กรมอุทยานแห่งชาติ ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จพระดำเนินมายังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและทรงปล่อยละมั่ง เนื้อทรายและสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าสู่ป่า จำนวน 70 ตัว ในจำนวนนี้ก็มีละมั่งพันธุ์ไทย ที่ได้รับการผสมเทียมในหลอดแก้วตัวแรกของโลกชื่อ “อั่งเปา”  เป็นหนึ่งในละมั่งที่ทรงปล่อยด้วย


นายไพฑูรย์ กล่าวว่า จนถึงวันนี้ เป็นเวลา ปีแล้ว อั่งเปาและเพื่อนละอง-ละมั่งตัวอื่นๆ ที่ถูกปล่อยคืนสู่ป่า ได้ขยายพันธุ์มีลูกมีหลาน โดยอั่งเป่านั้นให้ลูกมาแล้วถึง ครอกด้วยกัน ให้ปีละ ตัว ทั้งนี้ ละมั่งจะตั้งท้องคราวละ เดือน โดยลูกของอั่งเปาทุกตัวแข็งแรงทั้งหมด น่าเสียดายที่ตัวแรกถูกงูกัดตายเสียก่อน ส่วนอีก ตัวนั้น เวลานี้ต่างก็ให้ลูกสืบทอดถือเป็นรุ่นที่สามแล้ว

"เวลานี้ พื้นที่ป่าสลักพระมีปริมาณละมั่งพันธุ์ไทยอาศัยอยู่มากกว่า 100 ตัว จากเดิมที่พระองค์ท่านทรงปล่อยเมื่อ ปีก่อน ได้แตกฝูงแล้วแยกย้ายออกไปหากินฝูงแล้วฝูงเล่า บางฝูงออกไปไกลจากจุดเดิมกว่า 20 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทุ่งหญ้า และป่าไผ่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ฝูงละมั่งใช้เป็นที่หากิน ซึ่งจากการเดินสำรวจ และเฝ้าสังเกต จากการเก็บภาพถ่าย พบว่า ละมั่งในป่าสลักพระนั้น ค่อนข้างแข็งแรง สุขภาพภาพดี สังเกตจากการเปรียบเทียบการเจริญงอกงามของเขาของละอง ที่พบว่า งอกงาม แข็งแรงมากขึ้นทุกปี" นายไพฑูรย์กล่าว

ส่วนอั่งเปา ละมั่งทรงปล่อย เป็นละมั่งที่ค่อนข้างเชื่อง ตอนกลางวันก็จะออกไปหากินในป่า แต่พอตกเย็นก็จะกลับมานอนที่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยสะด่อง ซึ่งเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระทุกวัน

นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ความจริงแล้ว ไม่อยากให้สัตว์ป่าตัวไหนเชื่อง หรือเข้ามาใกล้ชิดกับคนเลย แต่สำหรับอั่งเปานั้น พอเจ้าหน้าที่เรียกชื่อ เขาก็เดินมาหา แต่จะไม่ยอมให้จับตัว ผมก็ได้กำชับว่าให้ดูแลได้ แต่อย่าให้อาหาร เพราะเดี๋ยวเขาจะไม่ยอมหาอาหารเองในป่า ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีใครเคยให้อาหารอั่งเปา ซึ่งอั่งเปาก็ใช้ชีวิตอย่างสัตว์ป่าทั่วไปได้ มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถให้ลูกได้ถึง ครอกแล้ว ถือเป็นละมั่งที่ใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดตัวหนึ่ง" นายไพฑูรย์ กล่าว

อั่งเปา เกิดขึ้นจากองค์การสวนสัตว์ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผสมเทียม (Artificial insemination) ในละมั่ง เพื่อกระจายพันธุกรรมดีของเพศผู้เป็นการช่วยเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์ป่า โดยการฉีดน้ำเชื้อที่ผ่านการแช่แข็งของพ่อพันธุ์พันธุกรรมดีเข้าสู่ปีกมดลูกของเพศเมีย จนนำไปสู่ความสำเร็จในการผลิตลูกละมั่งจากการผสมเทียมเพศเมีย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน ตัว ซึ่งถือเป็นตัวที่ ของโลก (ตัวแรกเกิดที่สถาบันสมิทโซเนียน สหรัฐอเมริกา) นับเป็นความสำเร็จก้าวแรกอันน่าภาคภูมิใจของกระบวนการวิจัยเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าหายากของไทย และเป็นละมั่งผสมเทียมตัวแรกของโลกที่ปล่อยออกไปดำรงชีวิตในป่าธรรมชาติประสบความสำเร็จ

Powered by Wimut Wasalai