ส่งหมีควายตะปบคนดูแลต่อที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ

ส่งหมีควายตะปบคนดูแลต่อที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ

อธิบดีย้ำ สัตว์ป่าของกลางต้องนำส่งสถานที่ของรัฐหรือกรมอุทยานฯเท่านั้น

3 ส.ค. 2560

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรณีหมีควาย เพศเมีย ทำร้ายนายสายฝน พรหมลัทธิ์ อายุ 38 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากไปหยอกล้อกับหมีควาย ที่สำนักสงฆ์สวนสมุนไพรหลวงปู่ละมัย หมู่ ต.บ้านโตก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ที่อยู่ในกรงเลี้ยงไว้ในคอกกำแพงปูน ซึ่งขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์นั้น 
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ ส.ค. นายสุธีร์ ลอยมา หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า เมื่อได้รับแจ้งว่ามีเหตุหมีควายทำร้ายคน จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบพร้อมกับนายไกรศร กองสลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะสัตวแพทย์จากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อนำหมีควายตัวดังกล่าวไปยังสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ โดยทำบันทึกรับคืนของกลาง โดยนายธนพร ถนอมวัฒนันต์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาค้อ กับ นางวันดี อยู่ขันสวัสดิ์ อายุ 57 ปี ผู้ดูแลรับผิดชอบหมีของกลางดังกล่าว



นายสุธีร์ กล่าวต่อว่า จากนั้นเจ้าหน้าที่ชุดยิงยาสลบได้ทำการยิงยาสลบถึง เข็มกว่าหมีควายจะสิ้นฤทธิ์ จากนั้นได้ทำการเคลื่อนย้ายไปยังสถานีเพาะเลี้ยงฯ โดยสัตว์แพทย์ได้ตรวจสุขภาพหมีควายตัวดังกล่าว พบมีอายุ 6-7 ปี เป็นหมีที่โตเต็มวัยแล้ว มีสุขภาพแข็งแรงดี แต่มีน้ำหนักเกินมานิดหน่อย และยังอยู่ในภาวะที่เครียดอยู่ ซึ่งทางสถานีเพาะเลียงจะดูและหมีควายจนกว่าจะไม่มีอาการเครียดหายเป็นปกติ จากนั้นอาจต้องเสนอไปยังผู้บริหารระดับสูงในการย้ายหมีควายตัวดังกล่าวไปยังสถานีเพาะเลี้ยงแห่งอื่น เนื่องจากที่สถานีเพาะเลียงสัตว์ป่าเขาค้อมีกรงที่ค่อนข้างจำกัดกับสัตว์ป่าที่มีอยู่ในขณะนี้


ด้านนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวถึงกรณีนำฝากสัตว์ป่าของกลางไปยังวัดหรือสำนักสงฆ์ว่า ตนไม่ขอพูดว่าการดำเนินงานในอดีตเป็นอย่างไร แต่ในยุคของตนเมื่อเจ้าหน้าที่สามารถจับสัตว์ป่าของกลางได้ ต้องนำส่งไปยังสถานที่ของรัฐหรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ เท่านั้น เนื่องจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เป็นสถานที่ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย การวิจัยอาหารและโภชนาการ สุขภาพของสัตว์ป่า ตลอดจนการดำเนินการกับสัตว์ป่าของกลางและสัตว์ป่าที่ประชาชนมอบให้สนับสนุนข้อมูลและบริการข้อมูล ซึ่งเป็นสถานที่ที่สามารถดูแลสัตว์ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปฝากสัตว์ป่าของกลางไว้ที่อื่น

นายสัตวแพทย์(นสพ.)ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติฯกล่าวว่า หมีตัวดังกล่าวโดยพฤติกรรม คือ คิดว่าตัวเองเป็นสัตว์เลี้ยง แต่โดยสัญชาตญาณคือ เป็นสัตว์ป่า ประกอบกับความเครียดที่เกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นรอบตัว เช่น เสียงตะโกน ของคนที่อยู่ปากบ่อ หรือการที่ต้องอยู่รวมกับหมูป่าก่อนหน้านี้ กรณีที่เกิดขึ้นนั้น มั่นใจว่า หมีไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าหรือทำร้ายคนที่ตกลงไปในบ่อ แต่จากปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน คือ ความเครียด ความสงสัย จึงต้องพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตกลงไปในบ่อคืออะไร

"โดยธรรมชาตินั้น หมีเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ดี ระบบสัมผัสที่ดีที่สุดของหมีคือ จมูก จมูกหมีจะดีกว่าจมูกหมาถึง เท่า หมีจะใช้จมูกคู่กับปากเพื่อพิสูจน์สิ่งที่มันสงสัย โดยใช้จมูกดม ปากงับ ขบ และใช้มือตะบบ ไม่ได้ทำด้วยความโหดร้ายหรือต้องการฆ่า แต่เป็นพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ เพราะหากมันต้องการฆ่าจริงๆมันจะกัดเนื้อแบบกระชาก และใช้มือตะบบอย่างรุนแรง กรณีนี้แค่การขบและสะกิดดูเพื่อให้หายสงสัยเท่านั้น แต่เนื่องจากหมีเป็นสัตว์ใหญ่ แรงเยอะ การขบหรือการสะกิดเบาๆ สามารถสร้างรอยแผลใหญ่ๆได้แน่นอน"นสพ.ภัทรพลกล่าว

เมื่อถามว่า กลอุบายที่ว่าหากเจอหมีจะเข้ามาทำร้ายให้แกล้งตายใช้ได้ผลจริงหรือไม่ นสพ.ภัทรพล กล่าวว่า ในประเทศหนาวความหนาวอาจจะทำให้จมูกหมีมีอาการชา หากเจอหมี แล้วนอนนิ่งไม่กระดุกกระดิกอาจจะได้ผล แต่ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนวิธีการนี้ใช้ไม่ได้ผลแน่นอน เจอหมีในระยะกระชั้นชิดมันจะได้กลิ่นเหงื่อ กลิ่นตัวทันที จะถูกขบกัด กระชาก แม้จะออกแรงไม่มาก แต่ด้วยคมเล็บและเขี้ยวที่ใหญ่แหลมคมก็มีสิทธิตายได้ทุกราย

"ดังนั้น เจอหมีอย่าพยายามแกล้งตาย เพราะอาจจะตายได้จริงๆ วิธีการที่ดีที่สุดคือ ตั้งสติ พยายามวิ่งหนีให้เร็วที่สุด หาอะไรมากั้นให้พ้นจากกรงเล็บ หรือพยายามตอบโต้ ทั้งนี้ การเอาไม้ตีหัว หรือตีตามลำตัว ไม่ได้ผลแน่นอน เพราะขนและหนังหมีหนามาก  จะต้องตีไปที่บริเวณจมูก เพราะเป็นจุดที่มีขนน้อยที่สุด และเป็นศูนย์รวมของปลายประสาท"นสพ.ภัทรพล กล่าว
Powered by Wimut Wasalai