ยกย่องนกเงือก เทพเจ้าแห่งรัก

ยกย่องนกเงือก เทพเจ้าแห่งรัก

13 พ.ค. 2557

ห้องข่าวกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายณรงค์ จิระวัฒน์กวี นักวิจัยนกเงือก โครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยานกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งศึกษานกเงือกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ให้สัมภาษณ์ว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ป่าแหล่งสำคัญที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ จากการนับและเฝ้าศึกษาในพฤติกรรมของนกเงือกในพื้นที่นี้พบว่า มีมากกว่า พันตัว ถือว่าค่อนข้างจะสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย โดยพบนกเงือกถึง ชนิดที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาล พบว่า นกเงือกจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้นต่อสัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5% หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น  


"ในแง่เกี่ยวกับสังคมวิทยา เราถือว่า นกเงือกนั้นเป็นเหมือนเทพเจ้าแห่งความรัก คือ ตัวผู้มีความรับผิดชอบสูง ในขณะที่ตัวเมียมีความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และนกทั้งคู่ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว มันจะอยู่เป็นคู่ผัวเดียวเมียเดียวไปจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง ขณะที่นกตัวเมียกกลูกนั้นมันจะอาศัยอยู่ในโพรง โดยจะสลัดขนออกจากตัวเกือบหมดเพื่อให้ขนเป็นรังนอนของลูก ระหว่างนี้มันก็จะอยู่แต่ในรัง ออกหากินไม่ได้ รอแต่อาหาร คือเมล็ดไม้ที่นกตัวผู้จะทำหน้าที่ไปหามาป้อน หากนกตัวผู้ไม่มีความรับผิดชอบ หรือออกไปหาเมล็ดไม้แล้วถูกยิงตาย จะหมายถึง เมียและลูกน้อยในรังที่รออาหารอยู่จะอดตายยกรังแน่นอน ครอบครัวนกเงือกถือเป็นครัวครัวสัตว์ป่าที่แปลก น่าศึกษา และน่ายกย่องอย่างยิ่ง" นายณรงค์กล่าว
นายณรงค์กล่าวว่า ถึงแม้ข่าวคราวของนกเงือกจะเป็นที่รู้จักของคนมากขึ้น แต่เวลานี้ก็ยังพบการล่านกเงือกเพื่อไปทำอาหาร และเอาหัวไปทำเครื่องประดับอยู่ หลายพื้นที่ไม่เคยเจอนกเงือกมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่  ทั้งนี้การล่านกเงือกเพียง ตัว อาจจะหมายถึงทำให้นกเงือกอีกมากกว่า ตัว ต้องตายตามไปด้วย โดยเฉพาะหากนกเงือกที่ถูกล่าเป็นนกเงือกตัวผู้ที่มีครอบครัวแล้ว 

Powered by Wimut Wasalai