แมวตีนดำ

Black Footed Cat, small spotted cat

Felis nigripes

ลักษณะทั่วไป




แมวตีนดำเป็นแมวขนาดเล็กมาก โดยเฉพาะตัวเมียมีน้ำหนักเพียง 0.8-1.6 กิโลกรัม ส่วนตัวผู้หนักเพียง 1.6-2.1 กิโลกรัม  ความยาวลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร ความสูงที่หัวไหล่เพียง 25 เซนติเมตร พอจะถือว่าเป็นแมวป่าที่เล็กที่สุดในโลก แมวป่าชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกันได้แก่แมวจุดสีสนิมและแมวคอดคอด 

แมวตีนดำมีขนหนาหนุ่ม มีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองจนถึงน้ำตาลแดง มีลายเป็นจุดกลมสีเข้มตามลำตัว บางจุดมีการเชื่อมต่อกันเป็นสายสั้น ๆ หรือเป็นวง หัวโตและกว้างเมื่อเทียบสัดส่วนกับลำตัว ตาโต สีเหลืองอำพันหรือสีน้ำตาลอมเทา คาง หน้าอก ท้อง และขาด้านในมีสีขาว มีเส้นสีเข้มที่แก้มข้างละสองเส้น หูใหญ่มน หลังหูสีน้ำตาลอ่อน ขามีเส้นสีดำพาดตามแนวนอน มีแถบเข้มที่แก้มก้น อุ้งตีนดำและมีขนยาวสีดำปกคลุมอันเป็นที่มาของชื่อ ตีนที่ดำนี้ช่วยให้รับมือกับพื้นดินอันร้อนระอุของที่กึ่งทะเลทรายที่มันอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี หางค่อนข้างสั้น มีความยาวราวครึ่งหนึ่งของลำตัว มีปล้องสีดำสองหรือสามปล้อง ปลายหางเรียว สีดำ 

ชื่อเรียกแมวตีนดำในภาษาต่าง 
อังกฤษBlack Footed Cat, small spotted cat
ฝรั่งเศสchat à pieds noirs
เยอรมันSchwarzfusskatze
สเปนgato patinegro, gato de pies negros
แอฟริกันklein gekolde kat, swart poot kat, miershooptier
นามา (นามิเบีย)!koirus
นารอน (บอตสวานา)tutchu
เซตสวานา (บอตสวานา)sebala, lototsi
โฮซา (แอฟริกาใต้)ingwe yeziduli


แมวตีนดำมีสองชนิดย่อย ชนิดย่อย F.n.nigripes มีสีซีดกว่า อาศัยอยู่ทางเหนือ พบในบอตสวานา นามิเบีย และแองโกลา กับชนิดย่อย F.n.thomasi สีเข้มกว่า อยู่ในตะวันออกของจังหวัดเคปและตอนใต้ของประเทศแอฟริกาใต้

ถิ่นที่อยู่อาศัย


แมวตีนดำพบเพียงในสี่ประเทศเท่านั้น คือแอฟริกาใต้ บอตสวานา นามิเบีย และตอนใต้ของแองโกลา มักอาศัยอยู่ตามป่าละเมาะทะเลทราย ที่ราบกึ่งทะเลทราย สเตปปส์ รวมถึงในทะเลทรายคาลาฮารีและทะเลทรายคารู สถานที่ที่แมวชนิดนี้ชอบที่สุดน่าจะเป็นที่ป่าหญ้าสูงที่มีนกและหนู่อยู่ชุกชุม 

เขตกระจายพันธุ์ของแมวตีนดำ 



อุปนิสัย

แมวตีนดำเป็นแมวถือสันโดษ หากินตอนกลางคืนเป็นหลัก ตัวที่อาศัยอยู่ในเขตคุ้มครองมีแนวโน้มหากินช่วงฟ้าสางและพลบค่ำมากขึ้น ส่วนตอนกลางวันที่ร้อนระอุจะหลบอยู่ตามโพรงปลวกหรือโพรงเก่าของสัตว์ชนิดอื่นเช่นโพรงของกระต่ายป่าเคป หรืออาจเป็นซอกหิน อุปนิสัยที่ชอบพักอยู่ตามโพรงปลวกทำให้มีชื่อในภาษาท้องถิ่นที่มีความหมายว่า “เสือจอมปลวก”

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความดุร้ายและความเก่งกาจของแมวชนิดนี้มากมาย เคยมีรายงานว่ามันจู่โจมแกะขนาดเล็กที่หนักกว่าตัวมันถึงสี่เท่า โดยกัดที่คอแล้วปล่อยตัวห้อยจนกระทั่งเขี้ยวเจาะแทงทะลุเส้นเลือด บ้างกล่าวว่าแมวตีนดำถึงกับล่ายีราฟได้เลยทีเดียว แต่ความจริงแล้วแมวชนิดนี้ล่าสัตว์ฟันแทะเช่นหนู เจอร์บิล กระรอกดิน และหนูกระเป๋า (pouched mouse) เป็นอาหารหลัก บางครั้งก็ล่าสัตว์ที่หนักพอกับตัวมันเองได้เหมือนกัน เช่น กระต่ายป่าเคป ไข่ก็เป็นของชอบของแมวตีนดำเหมือนกัน มันกินไข่โดยขบเปลือกอย่างแผ่วเบาด้วยกรามแล้วเลียกินของเหลวจากไข่ที่ไหลออกมา นอกจากนี้ยังล่า นก แมลง และสัตว์เลื้อยคลาน สำหรับแมลงดูเหมือนว่าแมวตีนดำชอบกินแมงมุมเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับสัตว์ตระกูลแมวทั้งหมดแล้ว แมวตีนดำมีอัตราการล่าเหยื่อสำเร็จสูงที่สุด

บางครั้งแมวตีนดำก็กินซากด้วย เคยพบว่าแมวตีนดำนำซากนกและหนูไปซ่อนในโพรงเพื่อกลับมากินทีหลัง และเคยมีคนพบมันกินซากลูกสปริงบ็อกที่สัตว์อื่นทิ้งไว้ติดต่อกันนานถึงสี่วัน 

แม้ว่าแมวตีนดำปีนป่ายได้เก่ง แต่มักจับหนูและนกที่อาศัยอยู่ตามพื้นมากกว่า  ในการล่าสัตว์จำพวกหนู แมวตีนดำจะซุ่มรออยู่หน้ารูคอยจับเหยื่อที่โผล่ออกมา ส่วนการล่านกจะใช้วิธีกระโดดตะปบกลางอากาศ มันสามารถกระโดดได้สูงถึง 1.5 เมตรและไกลถึง เมตรเลยทีเดียว

แมวชนิดนี้อดน้ำเก่งมาก ลำพังน้ำจากตัวเหยื่อก็อาศัยอยู่ได้แล้ว แมวที่ทนแล้งได้เก่งขนาดนี้นอกจากแมวตีนดำแล้วก็มีแมวทรายที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอีกชนิดหนึ่ง

เนื่องจากพื้นที่หากินแห้งแล้งทุรกันดาร แมวตีนดำจึงต้องตระเวณหากินเป็นบริเวณกว้างมากในแต่ละคืน บางคืนอาจเดินไกลถึง กิโลเมตร นอกจากเดินทางเก่งแล้วยังนอนเก่งอีกด้วย บางวันนอนมากถึง 20 ชั่วโมง และออกล่าเพียงวันเว้นวัน 

พื้นที่หากินของตัวเมียและตัวผู้ใกล้เคียงกันคือประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตของตัวผู้ซ้อนทับกับอาณาเขตของตัวเมียประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ปกติทั้งตัวผู้และตัวเมียจะหากินตามลำพัง จะพบกันก็ต่อเมื่อต้องการผสมพันธุ์เท่านั้น

จากคำบอกเล่า แมวชนิดนี้มีเสียงร้องคล้ายเสียงคำรามของเสือโคร่ง แต่สูงกว่าหนึ่งคู่แปด และดังไปไกลมาก

ศัตรูตัวฉกาจของแมวชนิดนี้คือ งู หมาจิ้งจอก และนกเค้าขนาดใหญ่ เมื่อมีภัยกร้ำกรายครอบครัวแมว แม่จะร้องเตือน ลูก ๆ จะหยุดนิ่งไม่ขยับเขยื้อน รอจนกระทั่งแม่ส่งเสียงต่ำสั้น ๆ พร้อมกันยกหูตั้งขึ้น จึงค่อยเข้าไปหาแม่

ชีววิทยา

แมวตัวเมียมีช่วงเวลาติดสัดนาน 36 ชั่วโมง แต่แม้กระนั้นมีช่วงเวลาให้ผสมพันธุ์ได้เพียง หรือ 10 ชั่วโมงเท่านั้น ช่วงเวลาที่สั้นเช่นนี้อาจเป็นเพราะแมวชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีแหล่งอาหารมากพอให้แมวสองตัวใช้พื้นที่ร่วมกันเป็นเวลานานได้ 

หลังจากตั้งท้องนาน 63-68 วัน ก็ถึงเวลาลูกแมวได้ออกมาดูโลก แม่แมวมักออกลูกในโพรง ครอกนึงราว 1-3 ตัว แต่ส่วนใหญ่มี ตัว มักออกลูกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ลูกแมวแรกเกิดหนัก 60-84 กรัม แม่แมวเปลี่ยนรังบ่อย อาจเป็นการหลีกเลี่ยงสัตว์นักล่าชนิดอื่น ลูกแมวตีนดำโตเร็วกว่าแมวบ้าน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ กรัม ตาเปิดเมื่ออายุได้ราว วัน หากินเองได้เร็วมาก พออายุได้ เดือนก็เป็นอิสระจากแม่ และพอถึง 20 เดือนก็โตเต็มวัยพร้อมเป็นพ่อแม่แมวแล้ว

ในแหล่งเพาะเลี้ยง แมวตีนดำมีอายุประมาณ 13 ปี

ภัยที่คุกคาม

แมวตีนดำมีจำนวนน้อยตามธรรมชาติ แมวชนิดนี้ถูกคุกคามจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์หลายด้าน การล่าไม่ใช่ภัยคุกคามหลัก การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นจำนวนมากเกินไปเป็นการรุกล้ำและจำกัดเขตหากินของแมวตีนดำรวมทั้งลดจำนวนของสัตว์เหยื่อของแมวอีกด้วย บางพื้นที่มีการวางยาเบื่อเพื่อกำจัดคาราคัล แมวป่าแอฟริกา และหมาจิ้งจอก แต่การกระทำเช่นนี้ย่อมคุกคามชีวิตของแมวตีนดำด้วยเนื่องจากแมวตีนดำกินซากเหมือนกัน ยากำจัดแมลงจำพวกตั๊กแตนก็เป็นภัยต่อแมวด้วย นอกจากนี้แมวตีนดำไม่น้อยก็ต้องตายเพราะหมาของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ไล่หมาจิ้งจอก การศึกษาในระยะหลังพบว่าแมวตีนดำมีอัตราการผสมพันธุ์เลือดชิดสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกตัดออกเป็นผืนเล็กผืนน้อย

สถานภาพ

แมวตีนดำเป็นสัตว์หายากมีจำนวนน้อย แม้จะพบได้บ่อยในบางพื้นที่ก็ตาม ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพว่าอยู่ในระดับเสี่ยงสูญพันธุ์ (2550) ไซเตสจัดไว้ในบัญชีหมายเลข 

ประเทศที่ห้ามล่า

บอตสวานา, แอฟริกาใต้

ไม่มีการคุ้มครอง

โมซัมบิก นามิเบีย ซิมบับเว 

ภาพแมวตีนดำในโซเชียลมีเดีย


Felis nigripes
ชื่อไทยแมวตีนดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์Felis nigripes
ชั้นMammalia
อันดับCarnivora
วงศ์Felidae
วงศ์ย่อยFelinae
สกุลFelis

ข้อมูลอ้างอิง

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 29 ส.ค. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 12 ม.ค. 67

Powered by Wimut Wasalai