ค่างดำ

Banded Surili, Banded Langur, Banded Leaf Monkey, Raffles' banded langur

Presbytis femoralis

ค่างดำเคยจัดเป็นชนิดย่อยของค่างสุมาตรา (Presbytis melalophosเช่นเดียวกับค่างซาราวัก (P. chrysomelas), ค่างนาทูนา (P. natunaeและค่างต้นขาขาว (P. siamensisแต่ต่อมาการวิเคราะห์ทางอนุกรมวิธานได้แยกชนิดย่อยทั้งสี่ออกมาเป็นชนิดของตัวเองต่างหากที่อยู่ในสกุล Presbytis เหมือนกัน 

ค่างดำพบใน เกาะสุมาตราตอนกลางและตะวันออก สิงคโปร์ คาบสมุทรมลายู ขึ้นมาจนถึงจังหวัดเพชรบุรี และตอนใต้ของพม่า

มีสามชนิดย่อย ชนิดย่อย P. f. femoralis ตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ ชนิดย่อย P. f. robinsoni อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายู ทางตอนใต้ของพม่าและไทย  และชนิดย่อย P. f. percura อยู่ในเกาะสุมาตรา 

ข้อมูลด้านอุปนิสัยและนิเวศวิทยาของค่างชนิดนี้มีอยู่น้อยมาก แต่เชื่อว่าน่าจะคล้ายกับค่างต้นขาขาว (P. siamensisและ ค่างสุมาตรา (P. melalophosซึ่งอาศัยอยู่ในป่าโกงกาง ป่าพรุ ป่าดิบ อาหารหลักคือผลไม้และใบไม้อ่อน ค่างดำตัวผู้ร้องเสียง “ชิ ชิ ชิ ชิ” 

ภัยคุกคามอันดับหนึ่งของค่างดำน่าจะเป็นการสูญเสียที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของค่างชนิดนี้ เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกเปลี่ยนไปเป็นสวนปาล์มน้ำมัน จำนวนประชากรในเขตกระจายพันธุ์กำลังลดจำนวนลง แต่อยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ประเมินว่ายังต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ภายใน รุ่น (30 ปี) ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ว่าใกล้ถูกคุกคาม (2551) ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ไซเตสจัดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 
Presbytis femoralis
ชื่อไทยค่างดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์Presbytis femoralis
ชั้นMammalia
อันดับPrimates
วงศ์Cercopithecidae
วงศ์ย่อยColobinae
สกุลPresbytis

ข้อมูลอ้างอิง

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 23 ส.ค. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 9 พ.ย. 66

Powered by Wimut Wasalai