กวางป่า, กวางม้า

Sambar

Rusa unicolor

กวางป่า (Rusa unicolor (ภาพโดย แสงชัย เตชะสถาพร)


กวางป่าเป็นกวางขนาดใหญ่ กวางตัวผู้ใหญ่ที่สุดอาจหนักได้ถึง 546 กิโลกรัม แต่ส่วนใหญ่หนัก 162-260 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 102-160 เซนติเมตร ขนตามลำตัวหยาบ มีสีน้ำตาลอ่อน บริเวณใต้ท้องและขาสีซีด เมื่อตกใจจะกระดกหางขึ้นลง ตัวผู้มักใหญ่กว่าตัวเมียและมีขนบริเวณคอหนากว่า กวางป่าตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา เขาแต่ละข้างมี หรือ กิ่ง ผิวของเขาจะขรุขระคล้ายผลมะระแต่ละเอียดกว่า ผลัดเขาทุกปี เขากวางอาจยาวได้ถึง เมตร บริเวณใต้ลำคอจะมีแผลเหมือนโรคผิวหนังเป็นดวง เรียกว่า "เรื้อนกวาง"

กวางป่าตัวเมีย 


กวางป่าพันธุ์อินเดียซึ่งอยู่ในอินเดียและศรีลังกามีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือพันธุ์จีนใต้ กวางป่าพันธุ์สุมาตราและบอร์เนียว มีสัดส่วนของเขาเทียบกับร่างกายเล็กที่สุด กวางป่าพันธุ์ฟอร์โมซันเป็นพันธุ์ที่มีร่างกายเล็กที่สุด มีสัดส่วนของเขาเทียบกับร่างกายใกล้เคียงกับกวางป่าพันธุ์จีนใต้

กวางป่ามี 13 ชนิดย่อย ดังนี้

ชนิดย่อยเขตกระจายพันธุ์
C. u. apoensisเกาะมินดาเนา ฟิลิปินส์
C. u. barandanusเกาะมินโดโร ฟิลิปินส์
C. u. basilanensisบาซิลันเกาะบาซิลัน ฟิลิปินส์
C. u. boninensisโบนินหมู่เกาะโบนิน (สูญพันธุ์)
C. u. deejeaniจีนใต้จีนตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้
C. u. equinusมลายูเกาะสุมาตรา, ไทย คาบสุมทรมลายู พม่า
C. u. francianusมินโดโร ฟิลิปินส์
C. u. hainanaไหหลำเกาะไหหลำ
C. u. nigellusเกาะมินดาเนา ฟิลิปินส์
C. u. nigerอินเดียอินเดีย
C. u. philippinusฟิลิปินส์ฟิลิปินส์
C. u. swimhoiฟอร์โมซันไต้หวัน
C. u. unicolorศรีลังกาศรีลังกา


กวางป่ามีเขตกระจายพันธุ์อยู่ในในอินเดีย ปากีสถาน พม่า ไทย ศรีลังกา ฟิลิปินส์ จีนตอนใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย บอร์เนียว สุมาตรา และชวา นอกจากนี้ยังมีประชากรบางส่วนที่เป็นสัตว์นำเข้าในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา และเทกซัส ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรือตามพื้นที่เชิงเขาที่เป็นหลั่นไม่ชันนัก พบในป่าหลายประเภทหลายระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงภูเขาสูง  ป่าบึง ป่าไม้แคระ  ป่าสน ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ มักพบว่ากวางป่าชอบป่าไม่ไกลจากแหล่งการเกษตรของมนุษย์ ในบางพื้นที่อาจมีการย้ายถิ่นตามฤดูกาล เช่นย้ายลงมาในที่ต่ำกว่าในฤดูร้อนซึ่งมีร่มไม้มากกว่าในฤดูหนาว

กวางป่าหากินตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ กินใบไม้ ผลไม้ หญ้า หัวพืช ยอดอ่อน ตอนกลางวันจะพักผ่อนอยู่ในป่าทึบ ว่ายน้ำเก่งและชอบแช่ปลัก ตัวผู้ทำสัญลักษณ์บอกอาณาเขตด้วยกลิ่นที่ผลิตจากต่อมกลิ่น

ฤดูผสมพันธุ์ของกวางป่าไม่แน่นอน แต่มักเกิดขึ้นราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนมกราคม ในฤดูผสมพันธุ์ กวางตัวผู้จะก้าวร้าวต่อตัวผู้ด้วยกันมากและหวงถิ่น ตัวเมียจะจับกลุ่มกันเป็นฝูงที่อาจมีสมาชิกมากถึง ตัว ตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัวในแต่ละฤดู ตัวเมียตั้งท้องนาน เดือน ออกลูกครั้งละตัว  ลูกกวางแรกเกิดหนัก 10 กิโลกรัมและตื่นตัวมาก มีขนสีน้ำตาล มีจุดขาวทั่วตัว จุดขาวนี้จะจางลงจนหายไปหลังจากแรกเกิดไม่นาน กวางหนุ่มจะเริ่มมีเขาในปีแรกหรือปีที่สอง เขาในสองปีแรกจะมีขนาดเล็ก ต้องรอให้ถึงปีที่ หรือ จึงจะมีเขาที่สมบูรณ์ กวางสาวจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว ปี ลูกกวางจะอยู่กับแม่ราว 1-2 ปี กวางป่าในธรรมชาติมีอายุขัยราว 20 ปี ส่วนในแหล่งเพาะเลี้ยงอาจอยู่ได้กว่า 26 ปี

ปัจจุบันประชากรของกวางป่ายังมีอยู่มาก ในอินเดียคาดว่ามีอยู่ราว 50,000 ตัว ไอยูซีเอ็นประเมินว่าอยู่ในระดับ เสี่ยงสูญพันธุ์ (VU) ไซเตสยังไม่จัดประเภทการคุ้มครอง ในเมืองไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ทราบหรือไม่?

ในฟิลิปินส์ มีกวางที่เป็นญาติใกล้ชิดกับกวางป่าอีกสองชนิด คือกวางฟิลิปินส์ (Cervus mariannusและกวางจุดฟิลิปินส์ (Cervus alfrediทั้งสองชนิดมีขนาดเล็กกว่ากวางป่า
ในเกาะชวาและบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย มีกวางอีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกวางป่า นั่นคือกวางรูซา (Cervus timorensis)
"กวางเขาเทียน" หมายถึงกวางป่าที่ยังมีเขาไม่สมบูรณ์ เป็นแท่งตรงไม่มีกิ่งคล้ายลำเทียน

Rusa unicolor
ชื่อไทยกวางป่า, กวางม้า
ชื่อวิทยาศาสตร์Rusa unicolor
ชั้นMammalia
อันดับArtiodactyla
วงศ์Cervidae
วงศ์ย่อยCervinae
สกุลRusa

ข้อมูลอ้างอิง

  • นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล, จารุจินต์ นภีตะภัฏ, สัตว์กีบ, องค์การค้าของคุรุสภา
  • Sambar Deer จาก wikipedia
  • Rusa unicolor จาก Animal Divisity Web
  • สมโภชน์ ศรีโกสามาตร, ทรอย แฮนเซล. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อัมรินทร์พริ้นติ้ง จาก Animal Divisity Web

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 24 ส.ค. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 13 ต.ค. 64

Powered by Wimut Wasalai