พังพอนกินปู

Crab-eating mongoose

Herpestes urva

พังพอนกินปู (Herpestes urva


พังพอนกินปู ลำตัวยาวประมาณ 36-46 เซนติเมตร หนักประมาณ 1,500-2,500 กรัม หัวและปากยื่นยาวเป็นรูปกรวย ลำตัวกลม ขาสั้น แต่ละขามีนิ้ว นิ้ว ระหว่างนิ้วตีนมีผังผืดเป็นรูปเสี้ยวเชื่อมอยู่ด้วย อุ้งตีนหลังมีขนคลุมหนาแน่น ขนตามลำตัวยาว สีเทาอมน้ำตาล ปลายขนสีขาว ขนบริเวณหัว คอ และขาสีน้ำตาลเข้ม มีเส้นขาวพาดยาวตั้งแต่มุมปากไปจนถึงหัวไหล่ทั้งสองข้าง หางยาวประมาณ 16.5-28 เซนติเมตร ขนหางยาวฟู

พังพอนกินปูมักหากินลำพัง น้อยครั้งที่อยู่ป็นฝูง หากินทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนใหญ่มักหากินตอนเช้ามืดจนถึงรุ่งสาง เป็นพังพอนที่หากินใกล้ชิดกับน้ำมากที่สุด หากินใกล้ลำธารในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มักเป็นป่าเขาที่อยู่ระดับต่ำหรือระดับกลาง ขุดรูอาศัยหรืออยู่ในหลืบหิน ว่ายน้ำเก่ง อาหารหลักคือปูน้ำจืด จึงได้ชื่อว่าพังพอนกินปู นอกจากปูก็ยังกินกบ ปลา หอยทาก รวมถึง นก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ด้วย

เขตกระจายพันธุ์แพร่ตั้งแต่เนปาล เบงกอลตะวันตก อัสสัม มาจนถึงจีนตอนใต้และคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมด รวมถึงไต้หวัน ไหหลำ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยไม่พบที่ภาคใต้

พังพอนกินปูออกลูกครั้งละสองตัว ตัวที่อายุยืนที่สุดที่เคยบันทึกเป็นพังพอนเลี้ยง มีอายุยืน 12 ปี 

ไซเตสจัดพังพอนกินปูไว้ในบัญชีหมายเลข ประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

Herpestes urva
ชื่อไทยพังพอนกินปู
ชื่อวิทยาศาสตร์Herpestes urva
ชั้นMammalia
อันดับCarnivora
วงศ์Herpestidae
สกุลHerpestes

ข้อมูลอ้างอิง

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 24 ส.ค. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 24 ส.ค. 64

Powered by Wimut Wasalai