ช้างป่าคลองเครือหวายเปิดศึกเดือด งาหักคางวง สาหัสทั้งคู่ สัตวแพทย์เฝ้าดูห่าง ๆ ไม่รักษา ย้ำเป็นวิถีธรรมชาติ

ช้างป่าคลองเครือหวายเปิดศึกเดือด งาหักคางวง สาหัสทั้งคู่ สัตวแพทย์เฝ้าดูห่าง ๆ ไม่รักษา ย้ำเป็นวิถีธรรมชาติ

3 ต.ค. 2560

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ ตุลาคม นายสัตวแพทย์(นสพ.)ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเปิดเผยว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งจากสัตวแพทย์อุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ (ชลบุรี ว่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด โดยเมื่อคืนวันที่ 19 กันยายน เวลา 22.30 น. เจ้าหน้าที่ชุดติดตามเฝ้าระวังช้างป่าในท้องที่อ.บ่อไร่ แจ้งว่า ระหว่างทำการลาดตระเวนพิกัด wgs8448t220211E1402267M พบว่ามีช้างป่า ตัว กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเป็นเวลาเกือบครึ่งชั่วโมง ทั้งคู่ได้รับบาดเจ็บ ตัวหนึ่งมีงาของอีกตัวหนึ่งหักติดบริเวณหน้างวงและหลบหนีเข้าหย่อมป่าใกล้เคียง 

นสพ.ภัทรพล กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าติดตามช้างป่าทั้ง ตัว โดยเมื่อวันที่ 29 กันยายน เวลาประมาณเที่ยง พบว่า ช้างป่าคู่เดิมก็ออกมาต่อสู้กันอีกครั้งในบริเวณพิกัด wgs84 48p 222088E1403291N ท้องที่ม.5 ต.หนองบอน ซึ่งจากการตรวจสอบช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บ พบว่า เป็นลักษณะงาของตนเองบาดเจ็บถูกกระแทก แทงทะลุหน้างวง และมีแผลบริเวณใกล้ตาอีกหนึ่งแผล มีอาการบวมอักเสบ อาการค่อนข้างสาหัส 
 









นสพ.ภัทรพล กล่าวอีกว่า ทั้งนี้นายพรชัย คำนึง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย ได้ทำเรื่องรายงานนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งสัตวแพทย์ประจำสบอ.2 เพื่อขอกำลังสัตวแพทย์จากส่วนกลางให้เข้าไปช่วยรักษาช้างป่าทั้ง ตัว แต่ตนมีความเห็นว่ายังไม่ควรเข้าไปรักษาในขณะนี้ โดยต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะการต่อสู้ของช้างป่าเกิดจากการแย่งชิงพื้นที่ครอบครอง หรือแย่งชิงตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ หากสัตวแพทย์ เข้าไปรักษาให้มีอาการดีขึ้นก็จะกลายเป็นว่า ช้างป่าทั้ง ตัวก็จะกลับมาต่อสู้กันอีกครั้ง ซึ่งครั้งที่ อาจมีตัวใดตัวหนึ่งตายหรือตายทั้งคู่ก็ได้

"หากเราเข้าไปรักษาตอนนี้ เราจะเหมือนโปรโมเตอร์มวยที่ทำหน้าที่เชียร์ให้ช้าง ตัวต่อสู้กันอีกครั้ง ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดจะต้องทำขณะนี้ คือ เฝ้าดูห่างๆ ให้พวกมันรักษาตัวเอง ตัวไหนที่คิดว่าตัวเองแพ้ก็ให้มันรู้ว่ามันแพ้ เป็นระบบการคัดเลือกของธรรมชาติ ซึ่งเข้าใจว่าหลังจากนี้อีกนานกว่าที่ทั้งคู่จะหายดีแล้วมาต่อสู้กันใหม่ หรืออาจเปลี่ยนคู่ต่อสู้ไปจากเดิม ซึ่งการต่อสู้ระหว่างช้างป่าในป่าธรรมชาติเราไม่ค่อยจะเห็นบ่อยนัก" นสพ.ภัทรพล กล่าว

นสพ.ภัทรพล กล่าวถึงสถานการณ์ช้างป่าในขณะนี้ว่า หลายคนกำลังเข้าใจผิด คิดว่ามีช้างป่ามากเกินไปจนล้นป่าและต้องหาทางจำกัดปริมาณประชากร โยกย้ายถิ่น หรือการทำหมันให้ แต่จากการสำรวจล่าสุดของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า พบว่า ช้างป่าเพิ่มขึ้นปีละ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และภาพรวมเมื่อคิดปริมาณพื้นที่ป่าต่อปริมาณช้างป่ายังถือว่า ยังมีปริมาณน้อยมาก จะมีมากเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น พื้นที่ป่ารอยต่อ จังหวัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้น ส่วนที่คนเห็นว่าช้างป่าจำนวนมากออกนอกพื้นที่บ่อย พฤติกรรมเหล่านี้ไม่สามารถการันตีว่าช้างล้นป่า แต่เป็นพฤติกรรมเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น 

"ยืนยันว่าช้างไม่ได้ล้นป่า แต่เป็นเพราะศักยภาพการรองรับประชากรช้างป่าในพื้นที่นั้นๆ ไม่ดีพอ ทำให้ช้างป่าต้องออกมานอกพื้นที่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น พื้นที่ป่ารอยต่อ พบว่า แหล่งน้ำและดินโป่ง มักจะอยู่ขอบป่า ช้างป่าจึงออกเดินมาขอบป่าเพื่อหาน้ำและดินโป่งกินอย่างไม่เต็มใจและไม่มีทางเลือก เป็นที่สังเกตว่าช้างป่าที่ออกมานั้นจะเป็นโขลงที่มีลูกเล็กๆ และเป็นโขลงที่มีช้างตัวผู้วัยเจริญพันธุ์ที่กำลังหาอาณาเขตให้ตัวเอง ซึ่งขณะนี้กรมอุทยานกำลังวางแผนจะเข้าไปสร้างแหล่งน้ำ ดินโป่ง ตรงพื้นที่ใจกลางป่ามากขึ้น ยืนยันว่าช้างไม่ได้ติดใจในรสชาติผลไม้ของชาวสวน แต่เป็นเพราะว่าพวกมันไม่ดีทางเลือก

Powered by Wimut Wasalai