นักวิชาการพบเสือโคร่งเพิ่มจำนวนในแม่วงก์ ตอกย้ำความสำคัญของป่าตะวันตก

นักวิชาการพบเสือโคร่งเพิ่มจำนวนในแม่วงก์ ตอกย้ำความสำคัญของป่าตะวันตก

7 ก.ย. 2560

เมื่อวันที่  กันยายน นายกิตติพัฒนธ์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร และนครสวรรค์ เปิดเผยว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาได้มีการสำรวจประชากรเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานฯ แม่วงก์ พบเสือโคร่งใหม่ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว กระจายกันอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่จะก่อสร้างเป็นหัวเขื่อนแม่วงก์พบถึง ตัว ซี่งเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้อุทยานฯ แม่วงก์ ร่วมกับกองทุนสัตว์ป่าโลกประเทศไทย(WWF) โดย น.ส.รุ้งนภา พูลจำปา นักวิจัยของกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เข้าไปสำรวจ ศึกษา จำนวนของประชากรและพฤติกรรมเสือโคร่งเกือบทั้งหมดได้ขยายพื้นที่หากินมาจากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ซึ่งอยู่ในกลุ่มป่าตะวันตกเหมือนกัน

                


น.ส.รุ้งนภากล่าวว่า  พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และอุทยานฯ คลองลาน จ.กำแพงเพชร และตาก เป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุดที่เสือจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งชุกชุมที่สุดในประเทศไทยสามารถขยายอาณาเขตการหากินแพร่เข้าไปได้ ช่วงประมาณ ปีที่ผ่านมา มีเสือโคร่งตัวเต็มวัยได้ขยายพื้นที่ออกมายังอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตัว และสามารถขยายพันธุ์เพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า ตัวด้วยกัน ในจำนวนนี้กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ที่ติดเอาไว้ทั่วพื้นที่อุทยานฯ แม่วงก์สามารถบันทึกภาพเสือตัวเต็มวัยเอาไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว โดยแต่ละตัวถือว่ามีพื้นที่หากินประจำอยู่ที่นี่  นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่าดีใจคือพบว่าไม่ต่ำกว่า ตัวที่มีลูกอ่อน  โดยแต่ละตัวมีลูกอีก ตัว แต่ในหลักการของการวิจัยยังไม่อยากนับลูกอ่อนเหล่านี้ เพราะยังไม่มีความขัดเจนว่าแม่เสือจะสามารถเลี้ยงลูกได้รอดหรือไม่  ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้ชัดเจน ซึ่งอุทยานฯ แม่วงก์ร่วมกับกองทุนสัตว์ป่าโลกได้ทำรายงานส่งไปยังสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์ฯ ห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องเสือโคร่งที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

“ถือว่าเวลานี้ประเทศไทยมีความหวังสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนที่สามารถเพิ่มจำนวนเสือโคร่งในป่าให้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้คือ 50% ของจำนวนที่มีอยู่ภายในปี 2565 ซึ่งขณะประเทศไทยมีจำนวน 250-300 ตัว” น.ส.รุ้งนภากล่าว
Powered by Wimut Wasalai