คพ. ชวนลอยกระทงรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย

คพ. ชวนลอยกระทงรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย

21 พ.ย. 2558

ห้องข่าวกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ประเทศไทยมีขยะทิ้งในทะเลจัดอยู่ในลำดับที่ ของโลก รองจาก จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และศรีลังกา  ขยะพลาสติกและโฟมจึงเป็นปัญหาสำคัญเพราะการย่อยสลายใช้เวลานาน โดยเฉพาะโฟมจะใช้เวลาย่อยสลายกว่า 450 ปี ปัจจุบันประเทศไทยยังมีปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทั้งบนบกและในทะเล หากมีปริมาณขยะที่จากกระทงไหลลงสู่ทะเล จะส่งผลกระทบต่อปริมาณขยะที่สะสมอยู่ในทะเลให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น ล่าสุดในการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้ คพ. จัดทำแผนจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ภาคส่วนต่างร่วมบูรณาการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

                                   
นายวิจารย์กล่าวว่า เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยและรักษาสิ่งแวดล้อม เทศกาลลอยกระทงในปี 2558 นี้ คพ. จึงขอเขิญชวนประชาชนลอยกระทงรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเลือกใช้วัสดุลอยกระทงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และเมื่อเก็บขึ้นมาก็นำไปจัดการได้ง่าย เช่น กาบกล้วย ดอกไม้ และใบตองยังเป็นวัสดุที่เหมาะสม จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุจากโฟมและพลาสติก เพราะใช้เวลาในการย่อยสลายนานมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ รวมถึงกระทงจากขนมปังหากอยู่ในแหล่งน้ำปิด ได้แก่ สระน้ำในวัด หนองน้ำ หรือแม่น้ำลำคลองที่มีความสกปรกเดิมอยู่แล้ว แม้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่หากมีปริมาณมากในแหล่งน้ำก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย เพราะขนมปังมีส่วนประกอบที่เป็นสารอินทรีย์คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน หากมีสารอินทรีย์ในปริมาณมาก จุลินทรีย์ต้องการปริมาณออกซิเจนเพื่อการหายใจและย่อยสลายวัสดุจากธรรมชาติ ก็จะยิ่งทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น

ทั้งนี้ จากสถิติการจัดเก็บกระทงในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2551-2557 พบว่าสัดส่วนกระทงที่ทำจากโฟมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเปรียบเทียบกับปี 2554 ที่มีกระทงทำจากโฟมจำนวน 57,837 ใบ คิดเป็นร้อยละ 18  โดยในปี 2555 มีจำนวน 131,338 ใบ คิดเป็นร้อยละ 14 ปี 2556 มีจำนวน 107,848 ใบ คิดเป็นร้อยละ 12 และปี 2557 มีจำนวน 96,069 ใบ คิดเป็นร้อยละ 10 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหามลพิษที่จะเกิดกับแหล่งน้ำในระยะต่อไป คพ. จึงขอความร่วมมือจากประชาชนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวทางในการลอยกระทงโดยใช้หลักการ 3R เพื่อลดการใช้ หาวิธีการกำจัด หรือนำกลับมาใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย 1.ใช้น้อย (Reduce) การลดขนาดของกระทงที่ใช้ ลดจำนวนชั้น และลดการตกแต่งให้น้อยลงเพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร และช่วยลดปริมาณขยะ และ ลดจำนวน "1 ครอบครับ กระทง" 2.ใช้ซ้ำ (Reuse) การวัสดุช้ำ เช่น ใช้วัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า และ 3.แปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) การนำกระทงที่เก็บรวบรวมมาใช้ประโยชน์ โดยกระทงจากวัสดุธรรมชาติก็นำมารวบรวมเพื่อใช้ในการหมักปุ๋ยได้ และยังเพิ่มการรณรงค์ในชุมชนใช้กระทงวัสดุแบบเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและทำลาย
Powered by Wimut Wasalai