กระทิงกุยบุรีถึงบทสรุป ตายจาก 3 เหตุ

กระทิงกุยบุรีถึงบทสรุป ตายจาก 3 เหตุ

กรมอุทยานแห่งชาติชี้ชัด กระทิงกุยบุรีตายจาก 3 สาเหตุ โรคดำ ปากเท้าเปื่อย และไวรัส ปิดอุทยานฯ ต่อ เพื่อกักโรค

13 มี.ค. 2557

ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 11 มีนาคม นายนิพนธ์ โชติบาล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รักษาการอธิบดีกรมอุทยานฯ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีฯ นสพ.ปรีชา วงศ์วิจารณ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ นสพ.เบญจรงค์ สังขรักษ์ จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และ นสพ.วิทวัช วิริยะรัตน์ รองคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าวการตรวจสอบการตายของกระทิงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี 
นายนิพนธ์กล่าวว่า ขณะนี้ได้สรุปสาเหตุการตายของกระทิงทั้ง 24 ซาก ที่ตายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 ว่า มาจากประเด็นเดียวคือ ตายเพราะเกิดโรคระบาดในสัตว์อย่างแน่นอน โดยกระทิงทั้ง 24 ซาก ตายจากสาเหตุต่างกัน กรณี คือ 1.เกิดจากการติดเชื้อคลอสซิเดียม โนวิอาย โดยพบเชื้อดังกล่าวในซากกระทิง 15 ซาก และจากดิน ตัวอย่าง เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่สามารถผลิตสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคดำ ที่ทำให้สัตว์ตายแบบเฉียบพลันได้ ในประเทศไทย ไม่เคยมีรายงานการพบโรคชนิดนี้มาก่อน 2. โรคปากเท้าเปื่อย กรณีนี้พบเืชื้อในซากกระทิง ซาก และ 3.ไวรัส Infectious Bovine Rhinotracheitis พบเชื้อในกระทิง ซาก โดยเชื้อทั้ง ชนิด คือสาเหตุที่ทำให้กระทิงทั้ง 24 ตัวตาย แต่ไม่สามารถระบุเจาะจงได้ว่าในเชื้อ ชนิดนี้ ตัวหนึ่งตัวใดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กระทิงตาย 

ทั้งนี้หมายความว่า ประเด็นในการตายของกระทิงชัดเจนขึ้นว่าไม่ได้ตายจากสารพิษ การถูกวางยา การล่า หรือจากความขัดแย้งของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ นสพ.ปรีชา กล่าวว่า สำนักสุขภาพสัตว์ได้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อในซากกระทิง ไปตรวจสอบตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และได้มีการแถลงถึงสาเหตุการตายของกระทิง โดยในระยะแรกพบว่าเกิดจากสารไนเตรทเป็นพิษ แต่ต่อมาได้มีการตรวจสอบซ้ำพบว่าไม่ใช่ จากนั้นได้มีการเจอเชื้ออนาพลาสมา หรือพยาธิเลือดในกระทิง แต่ก็ต้องตัดออกไปว่าไม่ใช่สาเหตุ กระทั่งปัจจุบัน ยืนยันได้ว่า สาเหตุที่กระทิงตายเกิดจากเชื้อคลอสซิเดียม โนวิอาย และมีการเจอเชื้อเพิ่มเติม คือ โรคปากเท้าเปื่อย ที่จะเกิดกับสัตว์กีบคู่ เช่น โค กระบือ สุกร โดย ไวรัสปากเท้าเปื่อย ในโลกนี้มี ชนิดด้วยกัน แต่ในประเทศไทย มี ชนิด หากเกิดในสัตว์จะเป็นแผลที่กีบเท้า ที่ปาก ลามเข้าสู่หัวใจ ทำให้หัวใจวายได้ 

นสพ.ปรีชากล่าวว่า โรคปากเท้าเปื่อย มีหลักฐานทางพันธุกรรม ว่าเคยเจอในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์มาก่อน และเชื้ออาจจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่ และมีสัตว์พาหะ นำไปติดต่อกับกระทิง รวมทั้งน้ำในแหล่งน้ำ โรค ปาก เท้า เปื่อย ในประเทศไทยมีไม่มาก แต่เคยเกิดขึ้น โดยขณะนี้สถาบันสุขภาพสัตว์กำลังจะประกาศให้ จ.ชลบุรี เป็นเขตโรคระบาด โรคปากเท้าเปื่อยเจอในซากกระทิง ซาก ใน 20 ซากที่ตรวจสอบ เจอเชื้อ คลอสซิเดียม โนวิอาย 12 ซากใน 22 ซาก และมีเชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุอีกชนิดหนึ่ง โดยทั้ง โรคอาจจะเกิดร่วมกันในกระทิง ซึ่งกรณีที่กระทิงตายเช่นนี้ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ประเทศอินเดีย 

ผู้สื่อข่าวถามว่า โรคปากเท้าเปื่อยแพร่ระบาดมาจากไหน นสพ.ปรีชา กล่าวว่า ตอบไม่ได้ แต่การระบาดของโรคเกิดจากการสัมผัส จากสัตว์ที่ป่วย ไปยังสัตว์ดี หรืออาจจะเกิดจากกระแสน้ำที่มีเชื้ออยู่พัดมาสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย เมื่อถามต่อว่า ถ้ากระทิงตายเพราะโรคปากเท้าเปื่อย ทำไมถึงหยุดการตาย นสพ.กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เพราะข้อมูลมีน้อย แต่การตายของกระทิงเกิดจากการสัมผัสแน่นอน ในพื้นที่ อ.กุยบุรีเคยมีการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยมาก่อน แต่เชื้ออาจจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่ เมื่อเกิดช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงเชื้ออาจจะมีการแพร่ออกมา ซึ่งเกิดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อไม่ให้เชื้อระบาด 

ด้านนายธีรภัทร กล่าวถึงมาตรการในการป้องกันว่า ล่าสุดจากการตรวจสอบในพื้นที่เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา พบกระทิงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีบริเวณหน้าผา 25 ตัว เป็นตัวเต็มวัย 21 ตัว เป็นกระทิงเล็ก 4 ตัว และวัวแดง 1 ตัว ทุกตัวท่าทางแข็งแรงสมบูรณ์ดี โดยขณะนี้กรมอุทยานฯ ได้เฝ้าระวัง และป้องกันการตายของกระทิง โดยกำหนดเขตกันชนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคสู่สัตว์ป่า รวมทั้งจำกัดการเข้าออกพื้นที่ และยังคงปิดอุทยานฯ กุยบุรีต่อไป อนุญาตเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เข้าไปควบคุมและป้องกันโรคเท่านั้น
Powered by Wimut Wasalai