ประชุมไซเตสวันสุดท้าย กับการบ้านหนักที่ยังเหลือของประเทศสมาชิก

ประชุมไซเตสวันสุดท้าย กับการบ้านหนักที่ยังเหลือของประเทศสมาชิก

14 มี.ค. 2556

วันที่ 14 มีนาคม ในการประชุมประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์(ไซเตส) วันสุดท้าย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้ยื่นข้อเสนอรอบที่ เรื่องการปรับบัญชีจระเข้น้ำจืดจากบัญชี ห้ามค้าขายระหว่างประเทศมาเป็นบัญชี ค้าขายได้แต่ต้องควบคุม ว่า แต่ผลในที่ประชุมก็มีมติไม่ยอมรับ เนื่องจากได้เสียงสนับสนุนไม่ถึง ใน โดยมีเสียงสนับสนุน 57 เสียง ไม่สนับสนุน 70 เสียง ไม่ออกเสียง 11 เสียง จากจำนวนประเทศที่เข้าร่วมประชุม 138 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 44.88  โดยประเทศที่ออกเสียงไม่สนับสนุนมองเรื่องจระเข้ในธรรมชาติของไทยที่มีประมาณ 200 ตัวว่าน้อยเกินไป และอาจจะเป็นไปได้ว่าประเทศที่ออกเสียงไม่สนับสนุนต้องการรักษาตลาดจระเข้ของตนเองเช่นกัน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีธุรกิจส่งออกจระเข้เช่นเดียวกัน

ส่วนเรื่องกรณีงาช้างนั้น  รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมใหญ่มีมติเห็นชอบให้สำนักเลขาธิการไซเตสหามาตรการในการเสริมสร้างความร่วมมือระยะยาวในการบังคับใช้กฎหมายในทวีปแอฟริกาและเอเชีย  ร่วมถึงขอให้ประเทศที่ยึดงาช้างในปริมาณมากกว่า 500 กิโลกรัม ทำการตรวจดีเอ็นเอเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของงาช้างภายใน 90 วันหลังจากตรวจยึด ร่วมถึงตรวจดีเอ็นเองาช้างที่ยึดได้ในช่วงเวลา ปีที่ผ่านมาด้วย นอกจากนี้ยังให้ประเทศที่มีอุตสาหกรรมแกะสลักงาช้าง สำรวจปริมาณงาช้างและผลิตภัณฑ์ที่ภาครัฐถือครองอยู่ หากเป็นไปได้ให้รายงานปริมาณงาช้างของภาคเอกชนด้วย  พร้อมรายงานข้อมูลดังกล่าวแก่สำนักเลขาธิการไซเตสภายในวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ของทุกปี

นายสตีเว่น กาลส์เตอร์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิฟรีแลนด์ ซึ่งทำงานด้านการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืชของประเทศไทยแถลงข่าว เรื่องชะตากรรมของ เสือ แรด และช้างในไซเตสว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดโควตาสำหรับล่าและค้าสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่อย่างเสือ แรดและช้างเป็นอย่างมาก จนชักไม่แน่ใจว่าการประชุมไซเตสจัดขึ้นมาเพื่อการอนุรักษ์หรือเพื่อการค้ากันแน่ เนื่องจากช่วงข้อเรียกร้องของแต่ละประเทศมุ่งไปที่การค้าสัตว์ป่ามากกว่าการอนุรักษ์หรือหยุดล่า โดยเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรต้องดูเรื่องกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในแต่ละประเทศนั้น ๆ เสียก่อนว่า มีศักยภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งมีบุคลากรที่เข้าไปทำงานด้านการปราบปรามและป้องกันการค้าขายอย่างผิดกฎหมายมากน้อยแค่ไหน

นายสตีเว่นกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การประชุมไซเตสก็ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทีเดียว เพราะยังมีสัตว์หลายประเทศก็มาได้รับการปกป้องจากการประชุมในครั้งนี้ เช่น กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบนราหู รวมไปถึงไม้พะยูงในประเทศไทยที่กำลังโดนคุกคามอย่างหนัก 

“สำหรับเรื่องความพยายามที่จะรณรงค์ให้ทุกชาติงดค้างาช้างนั้น  มันเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องตระหนักก็จริง แต่เมื่อไปดูในรายละเอียดแต่ละประเทศ เช่น ประเทศในแอฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ช้างถูกลักลอบฆ่าและล่าเพื่อเอางาออกมามากที่สุด ใครจะรู้บ้างว่าช้างในประเทศแอฟริกายังไม่มีกฎหมายคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเราก็เคยถามไปยังประเทศเหล่านั้นว่าทำไม แต่ได้รับคำตอบว่า กฎหมายอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยเพิ่งเริ่มเรื่องดังกล่าวเมื่อเดือนมกราคม 2555 นี้เอง

นายสตีเว่นกล่าวว่า การปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การค้าสัตว์ป่าสำคัญมาก เพราะว่าการล่าและค้าสัตว์ป่ามีวิวัฒนาการทั้งเรื่องวิธีการ เทคโนโลยีและอาวุธต่าง ๆ สูงขึ้นทุกปี ถ้าหากกฎหมายแต่ละประเทศตามไม่ทัน การเรียกร้องต่าง ๆ ก็จะไม่มีประโยชน์

การประชุมภาคีไซเตสครั้งต่อไป จะมีขึ้นในปี 2559 โดยมีประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ

ที่มา

  • ห้องข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Powered by Wimut Wasalai