สำรวจไหล่ทวีป หาเนินพุโคลน ในมหาสมุทรอินเดีย

สำรวจไหล่ทวีป หาเนินพุโคลน ในมหาสมุทรอินเดีย

1 เม.ย. 2550

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 สื่อมวลชนเกือบทุกสื่อ พากันเสนอข่าวเรื่องการค้นพบ เนินพุโคลน (mud volcano) ที่กลางทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ในโครงการศึกษาเสถียรภาพของชั้นตะกอนการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลบริเวณขอบไหล ทวีปในทะเลอันดามัน ของ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(START-สตาร์ท) ที่ดำเนินการร่วมกับประเทศเยอรมันต่างพากันตื่นเต้นตกใจ เพราะได้ยินคำว่า โวลเคโน (volcano) ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ภูเขาไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไปพบใต้ทะเล ที่ใกล้กับเกาะภูเก็ต จึงพากันสันนิษฐานไปต่างๆ นานา ว่าการค้นพบครั้งนี้ไปเกี่ยวข้องกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หรือไม่


แม้ ดร.อานนท์จะพยายามอธิบายว่า เจ้า มัดโวลเคโน หรือเนินพุโคลน ที่ว่านี้ มันคือ ลักษณะทางธรณีวิทยา ทำนองเดียวกับบ่อน้ำร้อน หรือ พหุน้ำร้อน ที่มีน้ำซึมลงไปตาม รอยแยกของหิน หรือความความพรุนของตะกอนเมื่อกระทบกับความร้อนที่อยู่ในเปลือกโลก บางจุดก็จะเดือด และพุกลับขึ้นมาที่ผิวพื้น โดยจะชะเอาอนุภาคตะกอนปนขึ้นมาด้วยทำให้มวลสารนั้นมีลักษณะเป็นโคลนเหลวข้น เมื่อเวลาผ่านไป เนินโคลนนั้นก็จะใหญ่ขึ้น โดยมีโคลนชั้นใหม่ทับถมโคลนชั้นเก่าไปเรื่อยๆ ตราบใดที่แหล่งความร้อนข้างใต้ยังคงร้อนอยู่ แต่กระแสความเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ว่ามีภูเขาไฟใต้ทะเลอันดามัน ยังคาใจหลายๆคน
ว่ากันตามหลักวิชาการแล้ว เนินพุโคลน กับภูเขาไฟใต้น้ำ ที่คิดกันว่า เชื่อมโยงกันจนทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามินั้น ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันน้อยมาก
ดร.อานนท์ ยอมรับว่า การสำรวจครั้งที่ผ่านมา แล้วไปเจอเนินใต้น้ำ ที่สงสัยว่าจะเป็นเนินพุโคลนหรือไม่นั้น เป็นความบังเอิญ แม้จะค่อนข้างมั่นใจว่าใช่เนินพุโคลนแน่ แต่ยังเก็บรายละเอียดได้ไม่มากนัก เพื่อความมั่นใจ จึงได้ขอทุนวิจัยเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษในโครงการย่อย เพื่อสำรวจเนินเขาใต้น้ำบริเวณขอบไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ออกสำรวจเนินพุโคลน โดยเฉพาะ เป็นการสำรวจ ครั้งแรกในประเทศไทย โดยทำร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี(ทธ.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)
ออกเดินทางสำรวจตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม และคาดว่าจะกลับถึงฝั่งไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม โดยใช้เรือ จักรทอง ทองใหญ่ ซึ่งเป็นเรือสำรวจทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะของทช.
จักรทอง ทองใหญ่ เป็นเรือขนาด 464 ตันกรอส ยาว 40 เมตร มีห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว 12 ห้อง เป็นห้องเตียงนอน ชั้น จุน้ำได้เต็มที่ 27 ตัน มีเครื่องปั่นไฟได้ 168 กิโลวัตต์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก มีตามสมควร ขาดแต่คลื่นโทรศัพท์ แต่สามารถใช้บริการโทรศัพท์สัญญาณดาวเทียมบนเรือได้ คิดค่าบริการนาทีละ 12 บาท
ทีมงานที่ร่วมเดินทางสำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วย ดร.อานนท์ นักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกส์ เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ภูเก็ต 12 คน ไม่รวม นักข่าว ที่ติดตามเรื่องนี้อีก คน และลูกเรือ อีก 14 คน รวมแล้ว 28 คน

วันที่ 20 มีนาคม

เรือออกจากท่าที่ท่าเทียบเรือแหลมพัน วา เวลา 13.30 น.เสียเวลาไปครึ่งวัน จากเดิมที่กำหนดไว้ โมงเช้า เพราะ อุปกรณ์บางอย่างเซ็ทไม่ลงตัว เครื่องปั่นไฟในเรือมีปัญหาเล็กน้อยอุปกรณ์ทางธรณีฟิสิกส์สำคัญที่ต้องนำมาท ำงานในครั้งนี้ประกอบด้วย 
   
   1.Side scan sonar ไซด์สแกน โซนาร์ (เครื่องโซนาร์แบบกวาดด้านข้าง) สำหรับ หาวัตถุบนผิวดิน 
   2.Sub bottom sediment profiler-ซับ บอททอม โปรไฟเลอร์ (เครื่องจับลักษณะของชั้นตะกอนโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือน) เพื่อดูลักษณะชั้นตะกอน ว่ามีการเรียงตัวอย่างไร 
   3. Shallow seismic boomer ไซส์มิคบูมเมอร์ (เครื่องส่งและรับคลื่นสั่นสะเทือน) เพื่อตรวจวัดการเรียงตัวของชั้นตะกอนที่ลึกกว่าแบบแรก
   

เรือมุ่งหน้าจากแหลมพันวา จ.ภูเก็ต ถึงจุดหมาย บริเวณขอบไหลทวีป กลางทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย บริเวณใกล้แนวเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย บริเวณที่พบกลุ่มเนินเขาใต้น้ำ เมื่อปลายปี ที่ผ่านมา ห่างจาก เกาะภูเก็ตประมาณ 200 กิโลเมตร เรือแล่นเต็มฝีจักร ประมาณ น๊อต หรือ ราว 16 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 19 ชั่วโมง
ก่อนออกเดินทางกัปตัน หรือผู้บังคับการเรือ เรือเอกชลวัชร์ สิงห์หนู เรียกประชุมทำความเข้าใจกับการปฏิบัติ และใช้ชีวิตอยู่บนเรืออย่างปลอดภัยตลอดเวลา คืน กับอีก วันผู้การขอความร่วมมือให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำประหยัดไฟ อาบได้ได้วันละ ครั้งเท่านั้น เข้าทางใครหลายๆคน
เสร็จจากประชุม ทุกคนแยกย้ายกันประจำตำแหน่งของตัวเอง กลุ่มนักธรณีวิทยา คน ช่วยกันเซ็ทเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ต่างๆ ที่จะต้องหย่อนลงน้ำในวันรุ่งขึ้นเมื่อถึงจุดหมายแล้ว นักข่าวยังไม่มีอะไรทำก็เดินสำรวจ เข้าห้องโน้น ออกห้องนี้ หาความรู้ใส่ตัวไปเรื่อยๆ บนเรือมีห้องสมุด ห้องนั่งเล่นและห้องกินข้าวรวมกัน นอกฝั่งไม่มีคลื่นโทรทัศน์ แต่มีหนังจากแผ่นดีวีดี ให้ทัศนาได้ตลอดเวลา



มีโทรศัพท์จากห้องผู้การชั้นบนสุดของเรือ แจ้งว่า มีโลมาฝูงใหญ่ กำลังว่ายน้ำประลองความเร็วกับเรือ ทุกคนเลยไปออกันนอกเรือ ส่งเสียงกิ๊ว ก๊าว ชี้ชวนให้ดูโลมากำลังว่ายน้ำ กระโดดน้ำเล่นกันอย่างสนุกสนาน
เวลา 17.30 สหโภชน์ หรือกุ๊ก บนเรือ ตีระฆัง ครั้ง แจ้งว่า อาหารพร้อมแล้ว มากินกันได้ และจะทำแบบนี้วันละ รอบ คือ 7.30 น. 11.30 และ 17.30 น.
กินข้าวอิ่ม ดร.อานนท์ สรุปแผนการทำงานวันรุ่งขึ้นให้ฟัง ว่า ได้ตีตารางพื้นที่เดิม ที่พบกลุ่มเนินเขาที่สงสัยว่าจะเป็นพุโคลนชุกชุมที่สุด ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร โดยจะใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ทั้ง แบบที่ทางกรมทรัพยากรธรณีเตรียมมาสแกนลงไปสำรวจ ว่า เจ้าเนินที่ว่า อยู่จุดไหนบ้าง และเนินเหล่านั้นประกอบด้วยตะกอนหรือเป็นหินแข็ง โดยเรือจะแล่นซิกแซกไปตามพื้นที่ที่ตีตารางเอาไว้ ใช้เวลา วันคงจะเสร็จ

วันที่ 21 มีนาคม

ดร.อานนท์ เคาะประตูตั้งแต่ โมงเช้า ให้ออกไปถ่ายรูป ตอนที่นักธรณีวิทยาปล่อยเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ ลงน้ำจากท้ายเรือ
ตอนเช้า ผู้การฯบอกว่า ไม่ควรอาบน้ำเพื่อความประหยัด เลยล้างหน้าแปรงฟันแบบลวกๆ ที่ท้ายเรือนักธรณีวิทยา กำลังเซ็ทเครื่อง เพื่อคอยจับตำแหน่งของเนินพุโคลน ทุกคนสีหน้าเคร่งเครียด เพราะเครื่องมือดังกล่าวอันเป็นสมบัติของกรมทรัพยากรธรณี เคยทำงานแต่เฉพาะในพื้นที่น้ำตื้นๆเท่านั้น แต่เวลานั้นเรือเราแล่นอยู่ที่ความลึก 500 เมตร จึงต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติในการเซ็ทเครื่องให้ทำงาน
วันนั้นทั้งวัน ดร.อานนท์บอกว่า หมดหวังที่จะเห็นฝูงโลมา เพราะพวกมันไม่ถูกโฉลกกับ เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ ที่ส่งคลื่นสั่นสะเทือนไปรบกวนประสาทหูของพวกโลมา
กว่าเครื่องไซส์มิคบูมเมอร์และเครื่องไซด์สแกนโซนาร์ จะทำงานได้เต็มที่เกือบเที่ยง และเนื่องจากระดับน้ำลึกมาก เครื่องมือจึงต้องทำงานหนักมาก ดังนั้นเพื่อถนอมเครื่องมือ ดร.อานนท์ จึงได้ลดขนาดพื้นที่สำรวจลงจาก 2.5 ตารางกิโลเมตร เหลือแค่ ตารางกิโลเมตร คือ มุ่งสแกนเฉพาะพื้นที่บริเวณที่เดิมเคยเจอเนินเขาใต้น้ำมาแล้วก่อนหน้านี้ ลูก โดยครั้งนี้เครื่องสแกนระบุชัดเจนว่า ในพื้นที่ ตารางกิโลเมตร ดังกล่าว เจอเนินเขาใต้น้ำ ถึง จุด ลูกใหม่ที่เจอสูงประมาณ 80 เมตร กว้างประมาณ กิโลเมตรขนาดประมาณนี้ ถ้าเจอที่อ่าวไทย ก็จะเป็นเกาะเล็กๆได้เลย เพราะน้ำในอ่าวไทยลึกแค่ 50-60 เมตร เท่านั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ที่เตรียมมาถูกใช้งานเกินสมร รถภาพของเครื่อง จึงทำให้ข้อมูลชั้นตะกอนที่เครื่องบันทึกไว้ออกมาแปลกๆ และไม่สามารถแปลได้ชัดเจนว่าลักษณะของเนินพวกนั้นเป็นเนินหินหรือเนินตะกอนหรือโคลนกันแน่
"วันพรุ่งนี้เราจะเริ่มส่งเครื่องมือลงไปเก็บตะกอนดินในแต่ละเนินที่เรากำหนด เอาไว้ ตะกอนที่ได้มาสามารถพิจารณาเบื้องต้นได้ว่า เป็น เนินพุโคลน หรือเป็นดินอะไรกันแน่ พิจารณาเบื้องต้นจากอุณหภูมิ หากตะกอนที่ได้อุณหภูมิแตกต่างจากน้ำที่อยู่ในบริเวณเดียวกันมาก เช่น น้ำ อุณหภูมิ 10 องศา ถ้าดินบริเวณนั้น 20 องศา เชื่อได้ 90% ว่า เนินพุโคลนแน่นอน" ดร.อานนท์ บอก
เมื่อถามว่า หากสิ่งที่เจอเป็นเนินพุโคลนจริงๆ เราควรจะรู้สึกอย่างไร ดร.อานนท์ กล่าวว่า ในแง่วิชาการแล้ว เจออะไร ผลออกมาอย่างไรก็ควรจะดีใจทั้งสิ้น เพราะ การสำรวจแบบนี้ทำกันเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ผ่านมาไม่เคยมีข้อมูลด้านนี้มาก่อน ถือเป็นความรู้ใหม่ว่า ใต้ทะเลลึกนั้นมีอะไรอยู่บ้าง
"จะเป็นเนินโคลน หรือเนินหินโผล่ เราก็ยอมรับได้ เพราะผมถือว่า สิ่งที่พบเป็นอีกขั้นหนึ่งของการศึกษาธรณีวิทยาในทะเล เพราะความลึกขนาดนี้เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าสัญฐานทางธรณีของผิวพื้นทะเลเป็นอย่างไร แต่เบื้องต้นแล้วผมไม่คิดว่าเป็นหินโผล่ เพราะหากเป็นหินรูปร่างคงมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ แต่เนินที่เจอนั้นทุกเนินมีลักษณะสมมาตรทั้งสิ้น สมมาตรที่ว่านั้นคือ ลักษณะการเกิดทั้งด้านซ้ายและขวาเหมือนกัน"ดร.อานนท์ กล่าว
หัวหน้าโครงการนี้ บอกด้วยว่า อีกอย่างที่สันนิษฐานได้คือ อาจจะเป็นหินแข็งที่มีตะกอนคลุมข้างบน หากเป็นเช่นนี้จริงเครื่องเจาะชั้นตะกอนที่จะส่งลงไป ก็จะเจาะทะลุได้ไม่เกินครึ่งเมตร เท่านั้น
"หากเราเก็บตัวอย่างพื้นทะเลแล้วเจอหิน ถ้าเป็นหินพวกแกรนิตก็สันนิษฐานได้ว่าคงไม่ใช่เนินพุโคลนได้เกือบ 100% แต่ถ้าพบหินบะซอลท์ก็ไม่แน่ แต่ถ้าหากพบพวกหินตะกอน ตะกอนละเอียด และมีซากเป็นเปลือกหอย หินปูน หรือแร่คาร์บอเนต ก็ยังพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นอาจจะเนินพุโคลน แต่ต้องพิสูจน์กันหลายขั้นตอนในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์" 

วันที่ 22 มีนาคม

เป็นวันที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตาลุ้นกั นว่า ตะกอนดิน ที่เราจะเจาะขึ้นมาพิสูจน์นั้นเป็นอะไรกันแน่ กินข้าวเช้าเสร็จ เรือก็เริ่มแล่น หาตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะส่งเครื่องเจาะลงไปเก็บตะกอนขึ้นมาได้ ระหว่างที่เรือกำลังวนหาตำแหน่งอยู่นั้น วิเชียร อินต๊ะเสน นักธรณีวิทยา ที่คร่ำเคร่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งเรือกับระดับความลึกของน้ำ พี่วิเชียร บอกว่า ระหว่างนี้ (เวลาเกือบๆเที่ยง) เรือเรากำลังลังแล่นอยู่เหนือเนินที่เรากำลังพิสูจน์กันว่ามันเป็นอะไรกันแน ่ เนินนี้มีความยาว เท่ากับเรือจักรทองฯลำนี้วางต่อกันถึง 25 ลำด้วยกัน
กินข้าวเที่ยงเสร็จ ก็ได้ตำแหน่งชัดเจนที่จะขุดตะกอน แบ่งการทำงานออกเป็น ชุด ผู้การเรือควบคุมเรืออยู่บนสะพานเดินเรือชั้นบนสุด ดร.อานนท์ อยู่ที่จุดปล่อยสลิงรอกแท่นขุดเจาะ และกลุ่มนายช่างเทคนิคประจำเรือ กับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตะกอนของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งทีมงานของกรมทรัพยากรธรณี อยู่ประจำบริเวณท้ายเรือ จุดที่จะปล่อยเครื่องมือขุดตะกอนลงไป
ปล่อยเครื่องมือขุดเจาะครั้งแรกที่ความลึก 550 เมตร การปล่อยเครื่องมือขุดตะกอนแต่ละครั้งนับจากจุดปล่อยบนเรือ ลงไปยังจุดที่มีตะกอน ขุดตะกอน และกลับขึ้นมาบนเรือแต่ละเที่ยวใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ครั้งแรกที่ปล่อยเครื่องขุดลงไปนั้น ทุกคนลุ้นกันด้วยความระทึก สังเกตจากทั้งนักวิทยาศาสตร์และลูกเรือ มารวมกันอยู่ท้ายเรือกันหมด
สิ่งไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นคือ ปล่อยสลิงลงไปแล้วถึงพันกว่าเมตรแต่ยังรู้สึกว่า เครื่องเจาะยังลงไปไม่ถึงพื้น และเมื่อพยายามจะดึงกลับ ก็ดึงไม่ขึ้น ใช้ความพยายามดึงอยู่นานมากจนหลายๆคนเริ่มใจเสีย ผู้การเรือต้องลงมาบัญชาการที่ท้ายเรือเอง จนในที่สุดก็ตัดสินใจขยับเรืออีกเล็กน้อย แล้วค่อยดึงใหม่ ปรากฏว่าดึงขึ้นมาได้ แต่สภาพถังใส่ตะกอนอยู่ในลักษณะหัวคว่ำ ละสายลวดสลิงพันกับตัวถัง
ตั้งข้อสันนิษฐานว่า เนื่องจากปล่อยสายสลิงยาวเกินไป สายจึงอาจจะไปเกี่ยวกับก้อนหิน หรือชะแง่งหิน และเมื่อพยายามดึงสายเป็นมุมเอียงเครื่องมือจึงเสียหลักล้มลง การขุดครั้งที่สอง และสาม ไม่มีอุปสรรคอะไรเพราะมีการควบคุมการปล่อยสลิงให้พอดีกับความลึกน้ำ แต่ไม่มีอะไรติดถังเก็บตะกอนขึ้นมาแม้แต่นิดเดียว
ดร.อานนท์ จึงขอให้เรือตั้งลำและหาตำแหน่งที่จะขุดใหม่ ก่อนจะหย่อนเครื่องเจาะลงไปอีกครั้งเป็นครั้งที่สี่นั้น มีเสียงแซวกันเล็กๆว่า ยังไม่ได้ขออนุญาตแม่ย่านางเรือ เลยไม่ได้ตัวอย่างตะกอน เพราะฉะนั้นน่าจะขออนุญาตก่อนดีไม๊ สุรัตตา บุญสมบูรณ์สกุล นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยเครื่องมือขุดเจาะ ชะงักไปชั่วครู่ (หลายคนคาดว่า เธอคงอธิษฐานในใจ) แล้วปล่อยเครื่องมือลงไป คราวนี้ปรากฏว่าได้ตะกอนขึ้นมาเต็มถัง
สุรัตตา วัดอุณหภูมิตะกอนได้ 10 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น คนอื่นๆ ช่วยกันเก็บตะกอนนั้นใส่ท่อพลาสติคใส เรือตั้งลำอีกครั้งเพื่อหาจุดที่จะเก็บตะกอนที่ใหม่ ปัญหาที่เจอคือ ไม่สามารถตักตะกอนจากบริเวณยอดเนินเขาได้ เพราะมีลักษณะเป็นหินแข็ง
วันนี้เราปล่อยเครื่องมือเจาะตะกอนลงไป 10 ครั้งแต่ได้ตะกอนเพียง ครั้ง โดยเป็นตะกอนที่ได้จากพื้นราบที่อยู่นอกบริเวณเนิน
เก็บเครื่องมือเสร็จเตรียมอาบน้ำกินข้าวเย็น ดร.อานนท์ชี้ให้ดูระลอกน้ำยิบๆที่มองดูคล้ายน้ำเดือดกลางทะเล ละลอกใหญ่อยู่ห่างจากเรือไม่กี่สิบเมตร
"เวลานี้ นักสมุทรศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจ และตั้งข้อสังเกตร่วมกันว่า ในทะเลอันดามัน มีคลื่นใต้น้ำ หรือ Internal Wave -- อินเทอร์นาล เวฟ มากกว่าทะเลอื่นๆมากๆ คลื่นใต้น้ำ มักเกิดในทะเลลึกที่น้ำทะเลทีการแบ่งชั้น โดยช่วงผิวน้ำลงไปถึงระดับประมาร 50 ถึง 100 เมตร น้ำทะเลจะอุ่นแบบเบา ส่วนน้ำที่อยู่ลึกลงไปจะเย็นและหนักกว่า ซึ่งตรงช่วงรอยต่อระหว่างน้ำเย็นและน้ำอุ่น นั่นเอง จะมีการกระเพื่อมเป็นคลื่นที่อยู่ใต้น้ำ มองไม่เห็นที่ผิวน้ำถึงแม้ว่าคลื่นใต้น้ำบางลูก อาจจะสูงถึง 20 เมตร หรือกว่านั้น ส่วนที่เห็นเป็นริ้วน้ำยิบๆ บนผิวน้ำนั้น เนื่องจากในบริเวณนั้นมีคลื่นใต้น้ำหลายชุดที่เกิดซ้อนกัน จึงน้ำให้เกิดการเสริมกันของความสูงคลื่นจนกระทั่งส่งผลให้เห็นได้ที่ผิวน้ำ การเสริมกันนี้ถ้าคลื่นลูกแรกสูง 20 เมตร ลูกที่สองสูง 10 เมตร เมื่อเสริมกันจะกลายเป็นลูกคลื่นเดี่ยวใต้น้ำที่สูงถึง 30 เมตร ที่เรียกว่า Internal Soliton- อินเทอร์นอล โซลิตอน นี้ สามารถสังเกตได้จากปรากฏการณ์น้ำเต้นเป็นริ้วยิบๆอยู่กลางทะเล" ดร.อานนท์ กล่าว
คลื่นใต้น้ำถึงแม้จะเป็นคลื่นขนาดยักษ์มีความสูงคลื่นได้หลายสิบเมตร แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อคนหรือชุมชนที่อยู่บนฝั่งแต่อย่างใดเนื่องจากพลังงานที่คลื่นใต้น้ำพามาจะต่ำกว่าคลื่นผิวน้ำมาก เนื่องจากความแตกต่างของความหนาแน่นของชั้นน้ำทั้งสองไม่มากนัก ไม่เหมือนกับความแตกต่างระหว่างน้ำกับอากาศ ดังน้ำคลื่นใต้น้ำนี้จึงสลายตัวได้ง่ายเมื่อเข้าที่ตื้น ในในบริเวณทะเลลึกคลื่นใต้น้ำอาจจะมีผลสร้างความเสียหายให้กับเครื่องมือประมงหรือรบกวนการทำงานของแท่นสำรวจและขุดเจาะน้ำมันบ้าง แต่เราเชื่อว่าคลื่นใต้น้ำในทะเลอันดามันนี้น่าจะเป็นกระบวนการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศชายฝั่งอย่างหนึ่ง โดยจะช่วยพาสารอาหารที่เป็นปุ๋ยอย่างดีสำหรับสาหร่ายและแพลงตอนพืชจากทะเลลึกเข้ามาที่บริเวณน้ำตื้นชายฝั่ง

23 มีนาคม

ช่วงเช้า ดร.อานนท์ บอกว่า จะต้องเก็บตะกอนอีก จุด อาจต้องใช้เวลาช่วงเช้าทั้งวัน และบ่ายๆเรือจะแล่นไปยังเกาะสิมิลัน เพื่อไปรับนักวิจัยอีก คนจากเยอรมัน ที่ทำโครงการนี้ด้วย ซึ่งเรือจะวิ่งจากขอบไหล่ทวีปกลางมหาสมุทรอินเดียไปเกาะสิมิลัน ใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมง
เก็บตะกอนได้ครบครันตามเป้าประสงค์แล้ว หลังอาหารเย็น ดร.อานนท์ สรุปผลการ เก็บตัวอย่างตะกอน ให้ฟังว่า ตัวอย่างตะกอนที่ได้มานั้น ไม่ค่อยน่าพอใจนัก เพราะเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการขุดหานั้นทำงานได้ไม่เต็มร้อย
"จากตะกอนที่ได้มานี้ พอจะสรุปได้เบื้องต้นว่า ไม่น่าจะเป็นตะกอนของ เนินพุโคลน แต่เป็นตะกอนทะเลธรรมดา เราพบเปลือกของแพลงตอนพืชเป็นหลัก จุดแรกที่ส่งเครื่องมือลงไปตักตะกอน แต่ไม่ติดนั้นเป็นเพราะ เจอหิน และหินที่เจอต้องไปตรวจสอบอีกทีว่าเป็นหินแกรนิต หรือ หินบะซอล"
ดร.อานนท์ สรุปว่า สรุปเบื้องต้น ตะกอนที่ขุดขึ้นมาได้นั้น ไม่น่าจะเป็นตะกอนของเนินพุโคลน เพราะไม่เจอตะกอนที่เป็นโคลน แต่ที่ยังไม่สรุป 100% เพราะศักยภาพเครื่องมือนั้นมีข้อจำกัด แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากจากการสำรวจครั้งนี้ คือ หินตะปุ่มตะป่ำใต้ทะเล ที่เจอนั้น คือ รอยเลื่อนสะแกง ที่ต่อมาจากประเทศพม่า หรือไม่ เพราะเวลานี้ยังไม่มีใครรู้เรื่องราวของรอยเลื่อนนี้ชัดเจน หลังจากสิ้นสุดที่ประเทศพม่าแล้วรอยเลื่อนดังกล่าว ลงมาทางทะเลแล้วออกไปทางไหนอีก
"ก่อนที่จะออกเรือมานี่ มีผู้เสนอแนะให้ผมตั้งข้อสังเกตหลายๆทาง ไม่ได้มุ่งเน้นว่าจะต้องเป็นเนินพุโคลนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งสมมุติฐานว่า ตะกอนที่เจอนั้นเกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนสะแกงหรือไม่ หากตะกอนที่ได้มาเป็นหินแกรนิต จะไม่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนสะแกง แต่ถ้าเป็นหินบะซอล โอกาสที่จะเกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนก็มีโอกาสสูงตามมา"
ทั้งนี้ หินบะซอลเกิดจากการเย็นตัวของแม็กมาร์ และแสดงว่า บริเวณที่เจอนั้นเคยมีภูเขาไฟ และมีประวัติ การเคลื่อนไหวของภูเขาไฟบริเวณนั้นมาก่อน (Volcanic Activity)
หากเป็นรอยเลื่อนสะแกงจริงๆพื้นที่ ที่เจอจะเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือไม่
ดร.อานนท์ บอกว่า การพบว่าพื้นที่ไหนมีรอยเลื่อนไม่ได้สรุปว่า พื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวเสมอไป จึงไม่สามารถบอกได้ แต่การที่เรารู้ตำแหน่งว่ารอยเลื่อนอยู่ตรงนี้ถือเป็นความรู้ใหม่ที่ควรจะรู ้เอาไว้ เพราะที่ผ่านมารู้แค่ว่ารอยเลื่อนสะแกงอยู่ในพม่า ลงทะเล แต่ไม่รู้ว่าไปไหนต่อ

24 มีนาคม

ตื่นเช้ามา เรือกำลังจะแล่น เข้าไปที่เกาะสิมิลัน น่ายินดีที่ได้เห็นฝั่ง แต่น่าเสียดาย เพราะเราขึ้นฝั่งไม่ได้ ได้แต่ยืนมองฝั่งจากบนเรือ อย่างเสียดายเล็กๆ
ขนของในเรือเสร็จบ่ายกว่าๆ แต่เนื่องจากเรด้าเรือเสีย ผู้การไม่อยากเดินทางกลางคืน จึงต้องค้างที่หน้าเกาะสิมิลันอีก คืน จะเดินทางกลับภูเก็ตพรุ่งนี้เช้า
อยู่ในเรือไม่มีอะไรทำ ดร.อานนท์ ทำหน้าที่ของครูได้อย่างยอดเยี่ยมเพราะจะอธิบายทุกอย่างที่เป็นข้อสงสัยเกี่ ยวกับปรากฏการณ์ทางทะเลได้อย่างหมดจด
ถามว่า อาจารย์ผิดหวังหรือเปล่า ที่การสำรวจครั้งนี้ไม่เป็นไปอย่างที่คิด อาจารย์บอกว่า ไม่ผิดหวัง เพราะ ถือว่า เราได้รู้อะไรที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเยอะมาก คำถามที่เราสงสัยและตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก หายไปหลายข้อ ส่วนข้อที่ตอบไม่ได้ ก็มีวิธีการที่จะทำให้เราไปถึงคำตอบนั้นง่ายขึ้น การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี ไม่จำเป็นว่า เราตั้งสมมุติฐานตอนแรก แล้วเมื่อมาพิสูจน์หาคำตอบแล้วไม่ได้คำตอบตามที่คิดเอาไว้ตั้งแต่แรก แล้วจะผิด ไม่ใช่อย่างนั้น แต่สำหรับผมคำตอบคำตอบที่อยู่นอกเหนือการคาดหมายที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว เป็นคำตอบที่น่าพอใจทั้งสิ้น

ที่มา

  • มติชน
Powered by Wimut Wasalai