ข่าวโลกสีเขียว

ลูกช้างตกหลุมกลางป่าลึกเขาสอยดาว เจ้าหน้าที่รุดช่วยจนรอด

8 มิ.ย. 2560

วันที่ 8 มิถุนายน นายสัตวแพทย์(นสพ.)ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากทีมลาดตระเวนป่าเชิงคุณภาพ (Smat Patrol) ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ต.คลองพลู อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี ว่า ระหว่างที่เดินลาด
...

ความคืบหน้าลิงอ้วน - "เพรียวขึ้น"

4 มิ.ย. 2560

ลิงอ้วน น้ำหนักลดแล้ว 1 เดือน 1 กิโลหมอใช้สูตรจะกินต้องเคลื่อนที่ ฟิตเนสหนัก เน้น กล้วยกรณีที่สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ช่วยเหลือลิงแสมตัวหนึ่ง มาจากบริเวณจุดชมวิวถนนเลียบวงแหวนใต้ เขตบางขุนเทียน
...

กรมอุทยานฯ หนุนอนุรักษ์ควายไทย

14 พ.ค. 2560

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช น.ส.กาญจนา นิตยะ ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า แถลงข่าววันอนุรักษ์ควายไทย ภายใต้แนวคิด ควายป่า ควายบ้าน ควายไทย โดยกล่าวว่า ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน เห็นได้ชัดเจนในการช่วยเหลือเกษตรกรทำการเกษตร ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้หันมาอนุรักษ์ควายไทย ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง โดยครม.มีมติกำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันอนุรักษ์ควายไทย” เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสถึงหลักการดำเนินโครงการธนาคารโค กระบือ เป็นครั้งแรก
...

กรมอุทยานฯ รุดช่วย "ลิงอ้วน" บางขุนเทียน คาดคนให้อาหารมากเกิน

28 เม.ย. 2560

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. น.ส.กาญจนา นิตยะ ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ตามสื่อสังคมว่าพบลิงที่บริเวณจุดชมวิวถนนเลียบวงแหวนด้านใต้ เขตบางขุนเทียน กทม. มีลักษณะอ้วนมากจนไม่สามารถลุกไปไหน อยากให้เจ้าหน้าที่ช่วย
...

ครั้งแรกในรอบ 3 ปี เสียงนกแต้วแร้วท้องดำจากป่า

14 เม.ย. 2560

วันที่ 12 เมษายน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์หลักของกรมอุทยานฯที่ตั้งเป้าเอาไว้ในปี 2560 คือ การฟื้นฟูประชากรนกแต้วแร้วท้องดำในธรรมชาติให้ได้ เนื่องจากในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาไม่มีใครเจอนกแต้ว
...

ข่าวดีเรื่องเสือจากทั่วประเทศ

เขาแหลมพบเสือโคร่งเป็นครั้งแรก ยายบุปผาแห่งห้วยขาแข้งยังล่าเหยื่อได้ ข้าวจี่มีลูกอ่อน ใกล้เขาใหญ่ยังมีอยู่

11 เม.ย. 2560

วันที่ 11 เมษายน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ได้รายงานผลการตรวจสอบภาพจากการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพประชากรสัตว์ ที่บริเวณบ้านเรดาร์ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยาน
...

พยัคฆ์ไพร แจ้งจับเพิ่มแก๊งก์ล่าสัตว์โพสเฟซบุ๊ก

21 มี.ค. 2560

จากกรณีที่นายจักกฤช จีนเพชร เจ้าหน้าที่ตรวจป่า (จ้างเหมาค่าตอบแทน) ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ กพ 4 (หนองเตาอิฐ) อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ที่ล่าสัตว์ป่าแล้วถ่ายภาพมาโพสอวดลงในเฟซบุ๊ก ซึ่งนายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้ทราบเรื่องได้สั่งการทันทีถึง นายอรรถพล เจริญชันษา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน
...

เชือด จนท.ป่าไม้ล่าสัตว์อวดลงเฟซบุ๊ก

20 มี.ค. 2560

วันที่ 20 มีนาคม ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากแอดมินเพจเฟซบุ๊ก "แหม่มโพธิ์ดำ" ว่า ผู้ใช้เฟชบุ๊กคนหนึ่งใช้ชื่อว่า "คนตัวดำ ชุดดำ" ได้โพสรูปภาพตัวเอง ใส่เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติที่ 112 ป่าแม่ระกา จ.กำแพงเพชร สังกัดสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ จ.ตาก กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พร้อมกับโพสภาพซากสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวนมาก
...

เหยื่อ "บุญทรมาน" ไม่ได้มีแค่เต่า ฮิบโป จระเข้ งู ก็ไม่เว้น

8 มี.ค. 2560

ความคืบหน้าของ "ออมสิน" เต่าตนุที่ได้รับการผ่าตัดเอาเหรียญออกจากท้องเพื่อช่วยชีวิต หมอเผยว่าอาการหลังผ่าตัดยังปกติดี ขยับตัวได้ ยังต้องให้อาหารทางสายน้ำเกลืออีก 2 สัปดาห์ เฝ้าระวังใกล้ชิด 24 ชั่วโมง รศ.สพญ.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ กล่าวว่า กรณีของออมสินไม่ใช่กรณีแรก ยังมีสัตว์อีกมาก
...

สัตวแพทย์จุฬาผ่าตัดช่วยชีวิตเต่าที่เกือบตายเพราะ “นักทำบุญ”

7 มี.ค. 2560

วันที่ 6 มีนาคม ศ.นสพ.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งทีมสัตวแพทย์จุฬา แถลงถึงความสำเร็จในการผ่าตัดเอาเหรียญออกจากกระเพาะเต่าตนุเป็นครั้งแรกของโลก พบถึงพันกว่าเหรียญ น้ำหนักรวมราว 5 กิโลกรัม พร้อมวิงวอนว่าอย่าทำบุญผิด ๆ ด้วยการโยนเงินใส่เต่า
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai