ข่าวโลกสีเขียว

ปลดเลขาฯม.คุ้มครองสัตว์ป่าฯบานปลาย!!! องค์กรอนุรักษ์รวมตัวค้าน-ไล่พิสิษฐ์แทน

21 พ.ค. 2550

กรณีนายพิสิษฐ์ ณ พัทลุง ประธานมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีคำสั่งปลดนายสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิ ภายหลังถูกนายสุรพลตั้งคำถามเรื่องการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งช้าง 8 เชือกไปประเทศออสเตรเลีย ท่ามกลางการคัดค้านของนักอนุรักษ์
...

ครั้งแรกในโลก ภาพเคลื่อนไหวของกระซู่บอร์เนียว

12 พ.ค. 2550

กองทุนสัตว์ป่าโลกและกรมสัตว์ป่าของสาขาซาบาห์ประเทศมาเลเซีย แถลงข่าวร่วมกันเมื่อวันที่ 24 เมษายนว่า สามารถเก็บภาพพฤติกรรมในธรรมชาติของกระซู่บอร์เนียว สัตว์ที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกไว้เป็นครั้งแรกโดยกล้องวิดีโอ
...

เสือดาวรัสเซียยังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

22 เม.ย. 2550

สำรวจจำนวนประชากรเสือดาวรัสเซีย หรือเสือดาวอามูร์ ซึ่งถือเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก พบว่าเหลืออยู่เพียง 25-34 ตัวที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าหวั่นวิตกถึงอนาคตความอยู่รอดของสัตว์ชนิดนี้
...

พบนกพงปากยาวครั้งที่สองของโลกในรอบ 139 ปี

1 เม.ย. 2550

นกพงปากยาว (Large-billed Reed Warbler; Acrocephalus orinus) ได้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียเมื่อ 139 ปีที่ผ่านมามีเพียงตัวอย่างเดียวที่ถูกเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งได้ถูกค้นพบอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 โดยใช้ตาข่ายดักจับบริเวณพื้นที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่ง
...

สำรวจไหล่ทวีป หาเนินพุโคลน ในมหาสมุทรอินเดีย

1 เม.ย. 2550

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 สื่อมวลชนเกือบทุกสื่อ พากันเสนอข่าวเรื่องการค้นพบ เนินพุโคลน (mud volcano) ที่กลางทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ในโครงการศึกษาเสถียรภาพของชั้นตะกอนการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลบริเวณขอบไหล ทวีปในทะเลอันดามัน ของ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย
...

พบเสือชนิดใหม่ในเกาะบอร์เนียวและสุมาตรา

นักวิทยาศาสตร์พันธุกรรมและกลุ่มอนุรักษ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกชี้ เสือลายเมฆบนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวเป็นเสือต่างชนิดกับเสือลายเมฆบนแผ่นดินใหญ่

15 มี.ค. 2550

เสือลายเมฆ เป็นหนึ่งในเสือสามชนิดที่พบในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในจำนวนเสือ 7 ชนิดทั่วโลกตามการจำแนกเดิม มีเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมไปถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว "จากการศึกษาพันธุกรรมของของเสือลายเมฆแสดงเด่นชัดว่าเสือลายเมฆที่อยู่ในเกาะบอร์เนียวกับสุมาตราเป็นเสือต่างชนิดกับเสือ
...

พบโลมาหายากในแม่น้ำแยงซีเกียง

สื่อมวลชนจีนได้รายงานว่า นักธุรกิจท้องถิ่นคนหนึ่งในเมืองถงหลิง มณฑลฮันฮุย ประเทศจีน ได้ถ่ายภาพของสัตว์สีขาวขนาดใหญ่ตัวหนึ่งได้ด้วยกล้องดิจิทัลเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากภาพถ่ายนั้นได้ผ่านสายตาของศาสตราจารย์หวังติง แล้วก็ได้รับการยืนยันว่า นี่คือ โลมาแม่น้ำ
...

    ตำรวจสิ่งแวดล้อมฮานอยจับกุมรถแท็กซีที่กำลังลักลอบขนเสือโคร่งแช่แข็งและกระดูกเสือโคร่งไปยังฮานอย กระดูกทั้งหมดมีน้ำหนัก 11 กิโลกรัม คาดว่าชำแหละมาจากเสือโคร่งตัวเต็มวัยสองตัว ส่วนซากแช่แข็งเป็นเสือโคร่งวัยรุ่น น้ำหนักประมาณ 57 กิโลกรัม การจับกุมครั้งนี้เป็นการจับการขนย้ายอวัยวะเสือโคร่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

    10 ส.ค. 52
    นักวิทยาศาสตร์พบว่า มังกรโคโดโม (Varanus komodoensis) ฆ่าเหยื่อด้วยพิษแบบเดียวกับพิษงู ไม่ใช่ฆ่าเหยื่อด้วยแบคทีเรียในน้ำลายดังที่เคยเชื่อกันมานานกว่า 20 ปี และยังพบว่าต่อมพิษของมังกรโคโดโมเป็นต่อมพิษที่ซับซ้อนที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้อยคลานอีกด้วย

    21 พ.ค. 51
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากทรัพยากรชีวภาพ (เลี้ยงไก่ฟ้า) โดยนำร่องด้วยไก่ฟ้า 5 ชนิด ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาวหรือจันทรบูร ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหน้าเขียว และไก่ฟ้าหางลายขวาง

    21 ม.ค. 52
    งานวิจัยภาคสนามของนักสำรวจจากเยอรมันที่สำรวจป่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นเวลาห้าปี พบว่า โบโนโบ ซึ่งเป็นลิงรักสันติ บางครั้งก็ฆ่าและจับลิงกินเป็นอาหารด้วย ซึ่งต่างจากความเชื่อดั้งเดิมว่าโบโนโบไม่จับลิงด้วยกันกิน

    23 ต.ค. 51
    บัญชีแดงของไอยูซีเอ็นฉบับปี 2551 ได้ปรับสถานภาพของโลมาอิรวะดีหรือโลมาหัวบาตรครีบหลังจากเดิม "ข้อมูลไม่เพียงพอ" ไปเป็น "เสี่ยงสูญพันธุ์" โดยมีภัยคุกคามหลักคือการถูกจับโดยบังเอิญ การสร้างเขื่อน การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเหมือง

    20 ต.ค. 51
    การทดลองครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ลิงชิมแปนซีสามารถจำแนกเพื่อนของมันด้วยการมองที่ก้นเพียงอย่างเดียวได้ดีเท่ากับการจำแนกด้วยการมองใบหน้า

    30 ก.ย. 51
    เจนนี กอริลลาที่อายุมากที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงตายลงแล้วที่สวนสัตว์ดัลลัส มีอายุรวม 55 ปี เจนนีเป็นกอริลลาพันธุ์ป่าต่ำตะวันตก เพิ่งฉลองวันเกิดปีที่ 55 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    7 ก.ย. 51
    เคนเนท โรส จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้ขุดพบกระดูกของกระต่ายที่อินเดีย โครงกระดูกนี้มีอายุถึง 53 ล้านปี เป็นซากกระต่ายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก

    25 มี.ค. 51
    สาธารณรัฐคองโก นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพลิงกอริลาตะวันตกในธรรมชาติผสมพันธุ์กันแบบหันหน้าเข้าหากันได้เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ทราบว่ามีเพียงคนและลิงโบโนโบเท่านั้นที่ผสมพันธุ์แบบหันหน้าเข้าหากัน เคยมีรายงานว่าลิงกอริลลาภูเขาบางครั้งก็หันหน้าเข้าหากันแต่ไม่เคยมีภาพถ่ายยืนยัน ส่วนกอริลลาตะวันตกก็เคยพบพฤติกรรมแบบนี้มาก่อนในกรงเลี้ยง แต่ไม่เคยพบในธรรมชาติจนกระทั้งในครั้งนี้

    15 มี.ค. 51
    ฮาโดรัม ชิริไฮ นักปักษีวิทยาชาวอิสราเอล สามารถถ่ายภาพนก Beck’s petrels (Pseudobulweria becki) ได้ราว 30 ตัว ที่หมู่เกาะบิสมาร์ก เป็นการพบนกชนิดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 80 ปี ก่อนการพบครั้งนี้ เคยมีการพบเห็นเพียงสองครั้งเท่านั้นคือในปี 2471 และ 2472

    11 มี.ค. 51
Powered by Wimut Wasalai