ชะนีมือดำ

Agile Gibbon, Dark-handed Gibbon

Hylobates agilis

ชื่อพ้อง

Hylobates albo Ludeking, 1862 subspecies griseus
Hylobates albo Ludeking, 1862 subspecies nigrescens
Hylobates rafflei É. Geoffroy, 1828
Hylobates unko Lesson, 1829

ชะนีมือดำตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 5.8 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียเล็กกว่าเล็กน้อย มีน้ำหนักเฉลี่ย 5.4 กิโลกรัม สีขนตามลำตัวมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่ดำ น้ำตาล น้ำตาลครีม และน้ำตาลอมแดง ทั้งตัวผู้มีคิ้วสีขาว ส่วนตัวผู้มีขนที่แก้มสีขาว แต่ตัวเมียไม่มี

Hylobates agilis (ภาพโดย Klaus Rudloff)


นักชีววิทยาส่วนใหญ่ถือว่าชะนีมือดำเป็นสัตว์พันธุ์เดียว ไม่มีชนิดย่อย แต่บางสำนักก็จัดว่ามีสองชนิดย่อย คือ H. a. agilis อาศัยอยู่ทางตะวันตก (พันธุ์ภูเขา) และ H. a. unko อาศัยอยู่ทางตะวันออก (พันธุ์ป่าต่ำ) การแบ่งชนิดย่อยสองชนิดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ชะนีชนิดนี้มีสองสี 

ชะนีมือดำที่อยู่ในเทือกเขาบาริซันในเกาะสุมาตราจะมีตัวที่สีครีมมากกว่า ส่วนในคาบสมุทรมลายูจะมีตัวที่มีสีดำมากกว่า

ชะนีมือดำพบในป่าฝนเขตร้อนทั่วเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อาศัยอยู่ตามเรือนยอดของป่า กินผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสหวาน ใบไม้ และแมลง ชะนีมือดำจะส่งเสียงร้องในตอนเช้ามืดเพื่อประกาศอาณาเขต บ่อยครั้งที่เป็นการร้องประสานเสียงกัน 



ชะนีฝูงหนึ่งมีสมาชิกเฉลี่ย ตัว มักประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกเล็ก และลูกวัยรุ่น ชะนีมือดำไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน  ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุราว ปี ตั้งท้องนาน เดือน ออกลูกครั้งละตัว ชะนีคู่หนึ่งให้กำเนิดลูกได้ 5-6 ตัวตลอดอายุขัย จับคู่เพียงครั้งเดียว คู่ผัวเมียจะอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิต ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันเลี้ยงลูก จนกระทั่งลูกอายุได้ ขวบ ลูกชะนีอาศัยอยู่กับพ่อแม่จนกระทั่งถึงวัยเจริญพันธุ์จึงแยกตัวออกไป ในแหล่งเพาะเลี้ยง มีอายุได้ถึง 44 ปี  ในธรรมชาติ มีอายุขัยเฉลี่ย 25 ปี

จำนวนประชากรของชะนีมือดำลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 45 ปี (3 รุ่น) ที่ผ่านมาจำนวนลดลงไปมากกว่า 50% สาเหตุหลักเนื่องจากการเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การที่ชะนีมือดำอาศัยเฉพาะอยูในเรือนยอดของป่าที่แน่น ทำให้ค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า เช่นการตัดถนนผ่านป่า การถางป่าเพื่อแปรสภาพเป็นไร่กาแฟและสวนปาล์มน้ำมัน เป็นปัญหาหลักที่คุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยของชะนีมือดำในสุมาตรา  ส่วนในไทย ถิ่นที่อยู่ของชะนีมือดำจำนวนมากต้องกลายเป็นสวนยางพาราแม้แต่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ก็ตาม ในชวา นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการในตลาดค้าสัตว์ป่า จึงมีการลักลอบจับอยู่เสมอ  ชะนีมือดำเป็นชะนีที่พบได้บ่อยที่สุดในตลาดค้าสัตว์ป่า พื้นที่ที่ประสบปัญหามากที่สุดคือที่เกาะสุมาตรา ส่วนจำนวนประชากรในแผ่นดินใหญ่ทั้งในคาบสมุทรมลายูและไทยค่อนข้างคงที่ แต่ถิ่นที่อยู่อาศัยก็น้อยลง  ไซเตสจัดไว้ในบัญชีหมายเลข ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ในระดับเสี่ยงสูญพันธุ์ (2551)
Hylobates agilis
ชื่อไทยชะนีมือดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์Hylobates agilis
ชั้นMammalia
อันดับPrimates
วงศ์Hylobatidae
สกุลHylobates

ข้อมูลอ้างอิง

  • http://www.iucnredlist.org/details/10543/0
  • http://animaldiversity.org/accounts/Prionodon_linsang/

เขียนโดย วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com) เผยแพร่ : 26 ก.ย. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 12 พ.ย. 66

Powered by Wimut Wasalai